Page 352 -
P. 352

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                   3) อินทรียวัตถุในดิน  ทองแดงท�าปฏิกิริยากับอินทรียวัตถุในดินเกิดสารเชิงซ้อนได้ง่าย  และ
          เกิดขึ้นมากเมื่อพีเอชของดินสูงกว่า  6.5  นอกจากนี้ยังท�าปฏิกิริยากับหมู่ไฮดรอกซิล  และหมู่คาร์บอเนต

          เมื่อพีเอชของดินสูงกว่า 7 ท�าให้ทองแดงอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์
                   4) สมดุลของธาตุอาหารในดิน เป็นเรื่องส�าคัญมาก จากตัวอย่างในกรณีต่อไปนี้
                     (1) หากสารละลายดินมีสังกะสี  แมงกานีส  เหล็กและฟอสฟอรัสสูง  รากพืชจะดูดทองแดง

          ได้น้อยลง เนื่องจากภาวะปฏิปักษ์ระหว่างการดูดไอออนเหล่านั้นกับทองแดง
                     (2) พืชที่ได้รับไนโตรเจนมากเกินไป  และสะสมโปรตีนในรากมาก  จะท�าให้การเคลื่อนย้าย

          ทองแดงและจุลธาตุพวกโลหะอื่นๆ  จากรากสู่ส่วนเหนือดินช้าลง  เนื่องจากทองแดงและไอออนเหล่านั้น
          มีโอกาสจับกับโปรตีนที่รากได้มากขึ้น  และจับไว้อย่างเหนียวแน่น  ส่วนเหนือดินจึงอาจขาดแคลนธาตุ
          ดังกล่าว

                   5) การขังน�้า ดังที่ได้อธิบายในเรื่องสังกะสี (บทที่ 12 ข้อ 1.3) แล้วว่า ส�าหรับรูปของบางธาตุ
          เช่น  โบรอน  โคบอลต์  ทองแดง  โมลิบดีนัมและสังกะสังกะสีในดินไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาออกซิเดชัน-
          รีดักชันโดยตรง  แต่สภาพละลายได้ของธาตุเหล่านี้ในดินอาจได้รับผลกระทบจากการขังน�้า  โดยภาพรวม

          แล้วการขังน�้าช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของโคบอลต์  ทองแดงและโมลิบดีนัมในดิน  แต่ท�าให้ความ
          เป็นประโยชน์ของสังกะสีลดลง


          2. บทบาทของทองแดงต่อพืช

                   บทบาทของทองแดงในพืชมี 5 ประการ (ยงยุทธ, 2558) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
                   1) การหายใจ:  ทองแดงเป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาขั้นสุดท้ายของกระบวนการ

          หายใจ โดยส่งอิเล็กตรอนไปให้ออกซิเจน ท�าให้ออกซิเจนถูกรีดิวซ์กลายเป็นน�้า
                   2) การสังเคราะห์แสง: ทองแดงมีบทบาทในการสังเคราะห์แสง โดยเป็นองค์ประกอบในโปรตีน
          สีน�้าเงินชื่อพลาสโตไซยานิน  (plastocyanin,  PC)  ซึ่งอยู่ในโซ่การเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน  ท�าให้อิเล็กตรอน

          เคลื่อนย้ายในระบบได้อย่างสมบูรณ์
                   3) ลดพิษของอนุมูลอิสระในเซลล์:  อนุมูลอิสระซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการสังเคราะห์แสง  มีฤทธิ์
          ท�าลายเยื่อในคลอโรพลาสต์  อันเป็นส่วนส�าคัญที่สุดของกระบวนการสังเคราะห์แสง  ทองแดง  เหล็ก

          แมงกานีสและสังกะสี  มีบทบาทในการกระตุ้นเอนไซม์ซึ่งคอยท�าลายอนุมูลอิสระดังกล่าว
                   4) การสังเคราะห์ลิกนิน:  โดยทองแดงท�าหน้าที่กระตุ้นการท�างานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับ
          การสังเคราะห์สารฟีโนลิกอันเป็นหน่วยย่อยที่ใช้สังเคราะห์ลิกนิน  ดังนั้นพืชที่ขาดทองแดงจึงไม่แข็งแรง

          เช่น ใบอ่อนบิดเบี้ยว กิ่งก้านโค้งงอและล้มง่าย
                   5) การพัฒนาในระยะเจริญพันธุ์:  ทองแดงช่วยให้การพัฒนาในระยะเจริญพันธุ์มีความสมบูรณ์

          เนื่องจากมีบทบาทส่งเสริมการออกดอก สร้างเรณูและปฏิสนธิ พืชที่ขาดทองแดงนั้นละอองเรณูเป็นหมัน
          ยืดเวลาการสุกแก่ของผล และคุณภาพของเมล็ดต�่า เนื่องจากมีอาหารสะสมน้อย



          348 จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2)                             ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   347   348   349   350   351   352   353   354   355   356   357