Page 357 -
P. 357
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2) อินทรียวัตถุในดิน ปริมาณอินทรียวัตถุมีผลกระทบต่อความเป็นประโยชน์ของโบรอน 2 แบบ
คือ เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์มีโบรอนเป็นองค์ประกอบ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน จะช่วย
เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุนี้ ในทางตรงกันข้ามอินทรียวัตถุในดินก็ดูดซับโบเรตในดินได้ด้วย ท�าให้
โบรอนในสารละลายดินลดลงชั่วคราว แต่จะกลับมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้อีกเมื่อ (1) มีแอนไอออนอื่น
เข้าไปแทนที่ หรือ (2) สารประกอบอินทรีย์ดังกล่าวสลายตัว การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในดินที่มีอินทรียวัตถุต�่า
จึงช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของโบรอนในระยะยาว
3) พีเอช (pH) ของดิน ในกรณีที่ดินมีโบรอนใกล้เคียงกันแต่ดินมีพีเอชต่างกัน พืชจะดูด
โบรอนจากดินที่มีพีเอช 5 ได้มากกว่าดินที่มีพีเอช 7 การใส่ปูนมากเกินไปท�าให้พืชได้รับผลกระทบในแง่
การใช้โบรอนในทางใดทางหนึ่งคือ (1) พีเอชของดินสูงขึ้นอาจท�าให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุนี้ลดลง
หรือ (2) ถ้าพืชยังได้รับโบรอนตามปรกติแต่พืชนั้นดูดแคลเซียมเข้าไปมาก ท�าให้สมดุลระหว่างธาตุทั้งสอง
ในพืชไม่เหมาะสม การเจริญเติบโตก็ไม่ดี
พีเอชของดินเป็นปัจจัยส�าคัญที่ควบคุมการดูดซับโบรอนที่ผิวของอนุภาคดิน ซึ่งมีผลต่อ
ความเป็นประโยชน์ของโบรอนต่อพืช กล่าวคือในช่วงพีเอช 3 ถึง 9 การดูดซับโบรอนที่ผิวอนุภาคเหล็ก
ไฮดรอกไซด์ [Fe(OH) ] และอะลูมินัมไฮดรอกไซด์ [Al(OH) ] สูงขึ้นเมื่อพีเอชของดินสูงขึ้น แต่ไอออน
3 3
ต่อไปนี้สามารถแข่งขันและลดการดูดซับโบรอนได้ คือ ซิลิเกต ซัลเฟต ฟอสเฟตและออกซาเลต กลไกการ
ดูดซับโบรอนที่ผิวอนุภาคเหล็กและอะลูมินัมออกไซด์ คือ การแลกเปลี่ยนลิแกนด์ (ligand exchange)
ระหว่างบอเรตไอออนกับหมู่ไฮดรอกซิล ท�าให้แอนไอออนบอเรตเข้าไปดูดซับอยู่กับผิวของอนุภาคดังกล่าว
อย่างเจาะจงและเหนียวแน่น การดูดซับโบรอนที่ผิวของอนุภาคอะลูมินัมไฮดรอกไซด์ [Al(OH) ] และ
3
เหล็กไฮดรอกไซด์ [Fe(OH) ] เกิดได้มากในช่วงพีเอช 7-9 ท�าให้ความเป็นประโยชน์ของโบรอนในดิน
3
ต�่ามาก
4) ความชื้นของดิน พืชที่ปลูกในดินซึ่งความชื้นต�่ามักขาดโบรอน เนื่องจาก (1) ในสภาพดังกล่าว
อินทรียวัตถุในดินสลายตัวช้า หรือ (2) รากพืชแผ่ขยายได้จ�ากัด จึงดูดโบรอนได้ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
ส�าหรับการขังน�้าของดินนาเกือบจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโบรอนในดิน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งกรณีที่พีเอชของดินสูงขึ้นจนใกล้ 7 หลังจากการขังน�้า H BO เป็นรูปของโบรอนที่มีมาก และ
3 3
ปฏิกิริยาการดูดซับโดยอะลูมินัมไฮดรอกไซด์และเหล็กไฮดรอกไซด์ จะเป็นปัจจัยส�าคัญที่ควบคุมความ
เป็นประโยชน์ของโบรอนในดินนา
นอกจากปัจจัยทั้ง 4 ประการที่กล่าวแล้ว สมดุลระหว่างแคลเซียมและโบรอนในดินก็มี
อิทธิพลต่อการใช้โบรอนของพืช ดังนี้ คือ (1) เมื่อดินมีแคลเซียมที่เป็นประโยชน์มาก ท�าให้รากดูด
โบรอนได้น้อยลง ดังนั้นหากดินมีโบรอนมากและอยู่ในระดับที่เป็นพิษต่อพืช การมีแคลเซียมในดินมาก
ท�าให้พืชทนต่อพิษของโบรอนได้ดี แต่ถ้าดินมีแคลเซียมน้อย พืชจะไม่ทนต่อพิษของโบรอน (2) การใส่ปูน
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2) 353