Page 373 -
P. 373

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                 1.1 ซิลิคอนในแร่ประกอบดิน
                     ซิลิคอนในดินอยู่ในรูปซิลิคอนไดออกไซด์  (SiO )  หรือซิลิกา  (silica)  และเป็นองค์ประกอบ
                                                            2
            ในแร่ควอตซ์  (quartz)  และมีในแร่อะลูมิโนซิลิเกตชนิดต่างๆ  เช่น  แพลจิโอเคลส  (plagioclase)
            ออร์โทเคลส (orthoclase) และเฟลด์สปาร์ (feldspars) ในแร่ดินเหนียว เช่น เคโอลิไนต์ (kaolinite)
            เวอร์มิคิวไลต์ (vermiculite) และสเมคไทต์ (smectite) ตลอดจนซิลิกาอสัณฐาน (amorphous silica)

            แร่และสารประกอบเหล่านี้สลายตัวยาก
                 1.2 ซิลิคอนในสารละลายดิน

                     ธาตุนี้ในสารละลายดินส่วนมากอยู่ในรูปกรดโมโนซิลิซิก [monosilicic acid, H SiO  หรือ Si(OH) ]
                                                                                  4   4          4
            และกรดพอลิซิลิซิก  (polysilicic  acid)  ความเข้มข้นของซิลิคอนในสารละลายดินอยู่ระหว่าง  3.0  ถึง
            56  มก.Si/กก.  ซึ่งใกล้เคียงกับความเข้มข้นของโพแทสเซียม  แคลเซียมและจุลธาตุอื่นๆ  กรดโมโนซิลิซิก

            ได้มาจากการผุพังของแร่ต่างๆ  ทางเคมีโดยการไฮโดรไลซิส  (hydrolysis)  จึงอยูในภาวะสมดุลกับแร่
            เหล่านั้น ดังสมการ

                                       SiO  + 2H O  ↔  H SiO    0
                                          2     2          4   4
                     พืชดูดซิลิคอนในรูปกรดโมโนซิลิซิก รูปนี้อยู่ในสารละลายดินได้ในช่วงพีเอชที่ค่อนข้างกว้าง (2-9)

            แต่เมื่อดินมีพีเอชสูงขึ้น  ซิลิคอนจะถูกดูดซับไว้กับดินท�าให้ความเป็นประโยชน์ลดลง  กรดโมโนซิลิซิกอาจ
            แตกตัวได้และแตกตัวมากขึ้นเมื่อพีเอชของดินสูงขึ้น  ในสภาพที่พีเอชสูงขึ้น  ไฮโดรเจนไอออน  (H )  ที่ได้
                                                                                            +
                                                           -
            จากการแตกตัวจะท�าปฏิกิริยากับไฮดรอกซิลไอออน (OH) ได้น�้า ปฏิกิริยาการแตกตัวของกรดโมโนซิลิซิก
            มีดังนี้
                                           H  SiO    ↔  H SiO + H  +
                                                 0
                                                                -
                                            4   4          3   4
                                                 0
                                                                2-
                                           H  SiO    ↔  H SiO  + 2H   +
                                            4   4          2   4
                                           H  SiO    ↔  HSiO  + 3H   +
                                                               3-
                                                 0
                                            4   4             4
                                                              4-
                                                 0
                                           H  SiO   ↔  SiO  + 4H    +
                                            4   4            4
                     ส�าหรับแอนไอออนของกรดโมโนซิลิซิกซึ่งเกิดจากการแตกตัวในสมการข้างต้น  มีความสามารถ
            ในการแทนที่อนุมูลฟอสเฟตในสารประกอบต่างๆ เช่น แคลเซียมฟอสเฟต แมกนีเซียมฟอสเฟต อะลูมินัม
            ฟอสเฟต  และเหล็กฟอสเฟตได้  ท�าให้ฟอสเฟตออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น  ทั้งในขณะที่ดินเป็น
            กรดและเป็นด่าง  เนื่องจากในทั้งสองสภาพดังกล่าว  การตรึงฟอสฟอรัสในดินมีมากกว่าเมื่อดินมีปฏิกิริยา
            เป็นกลาง
                     หลังจากดินขังน�้า  ความเข้มข้นของซิลิคอนในสารละลายดินอาจสูงขึ้นด้วยสาเหตุ  2  ประการ
            คือ  (1)  มีการปลดปล่อยซิลิคอนที่ไฮดรัสออกไซด์ของเฟอริกเคยดูดซับไว้  และ  (2)  คาร์บอนไดออกไซด์

            จากการสลายตัวของอินทรียวัตถุช่วยละลายแร่อะลูมิโนซิลิเกต  ในภายหลังอีกหลายเดือนความเข้มข้นใน
            สารละละลายดินอาจลดลงได้ หากซิลิคอนกลับไปดูดซับกับสารประกอบอะลูมิโนซิลิเกตอีกครั้งหนึ่ง




                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                             จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2)  369
   368   369   370   371   372   373   374   375   376   377   378