Page 375 -
P. 375
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 13.8 โรคของข้าว 5 โรคที่ซิลิคอนช่วยให้อาการของโรคน้อยลง
ชื่อโรค เชื้อสาเหตุ
Blast Magnaporthe grisea
Brown spot Cochliobolus miyabeanus
Sheath blight Thanatephorus cucumeris
Leaf scald Monographella albescens
Stem rot Magnaporthe salvinii
ที่มา: ปรับปรุงจาก Datnoff et al. (2007)
4) ซิลิคอนช่วยเพิ่มอ�านาจการออกซิเดชัน (oxidation power) ของรากข้าว จึงออกซิไดส์
เฟอรัสไอออนให้กลายเป็นเฟอริกไอออน แล้วได้เฟอริกออกไซด์ซึ่งตกตะกอนที่ผิวราก กลไกนี้จะลดการ
ดูดเฟอรัสไอออน แต่ป้องกันความพิษจากเฟอรัสซึ่งมีมากเกินไปในสารลายของดินนาที่เป็นกรดจัด
5) ในบางกรณีที่รากต้องปรับตัว ให้เข้ากับสภาพรีดักชันของดินจากการขังน�้า รากจึงต้อง
ควบคุมการใช้ออกซิเจนภายในรากให้มีประสิทธิภาพ ซิลิคอนมีบทบาทส่งเสริมการสร้างแถบแคสแพเรียน
(Casparian band) ในเอ็กโซเดอร์มิสและเอ็นโดเดอร์มิส และสะสมลิกนินในสเคลอเร็งคิมา ทั้งนี้เพื่อลด
การแพร่ของออกซิเจนออกมาสู่ไรโซสเฟียร์ เป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยให้รากข้าวปรับตัวให้เข้ากับสภาพรีดักชัน
ของดิน หรือสภาพแวดล้อมบางประการที่ไม่เหมาะสม
ผลของซิลิคอนต่อข้าวที่กล่าวมาสรุปได้ 2 ประการ คือ (1) ช่วยให้ข้าวปรับตัวจนสามารถด�ารง
ชีพได้อย่างเหมาะ (improving plant fitness) กับสภาพแวดล้อมทางเคมีของดิน และ (2) ป้องกันตัวเอง
เพื่อลดการถูกแมลงรบกวนและการท�าลายของโรค
3. ความเข้มข้นและการดูดสะสมซิลิคอนของข้าว
ความเข้มข้นของซิลิคอนและการดูดสะสมซิลิคอนในเนื้อเยื่อของข้าวเป็นดังนี้ (Dobermann
and Fairhurst, 2000; Fageria, 2014; Fagerria et al., 2011)
1) ความเข้มข้นของซิลิคอนในฟางข้าว ผันแปรอยู่ระหว่าง 2 ถึง 10 %Si แต่โดยทั่วไปจะอยู่
ในพิสัย 5-6 %Si ในการผลิตเมล็ดข้าว 1 ตัน ต้นข้าวจะดูดซิลิคอนมาจากดิน 50-100 กก.Si หรือเฉลี่ย
80 กก.Si เพื่อใช้ในการสร้างผลผลิตเมล็ด 1 ตัน ดังนั้นข้าวที่ให้ผลผลิต 960 กก./ไร่ จะดูดใช้ซิลิคอน
จากดินประมาณ 76.8 กก.Si/ไร่ 80 % คงอยู่ในฟางเมื่อข้าวสุกแก่ หากเก็บเกี่ยวเฉพาะเมล็ดออกไปโดย
คืนฟางทั้งหมดไว้ในนา จะมีซิลิคอนติดไปกับเมล็ดประมาณ 15 กก.Si/ตัน (ตารางที่ 13.9) การเผาฟาง
ไม่ท�าซิลิคอนอยู่ในรูปซิลิกา (SiO ) ในดินต่อไป
2
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2) 371