Page 374 -
P. 374

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                   ข้าวแต่ละฤดูปลูก  ดูดสะสมซิลิคอน  36.0-75.2  กก.Si/ไร่  หากมีการปลูกข้าวต่อเนื่อง
          ปีละหลายครั้ง  และอัตราการดูดสะสมซิลิคอนของข้าวจากสารละลายดิน  สูงกว่าอัตราการปลดปล่อยกรด

          โมโนซิลิซิกของดิน ข้าวอาจขาดซิลิคอนได้


          2. บทบาทของซิลิคอนในพืช
                                                                         0
                   รากข้าวดูดธาตุซิลิคอน  (Si)  เข้าไปในรูปกรดโมโนซิลิซิก  (H SiO )  แล้วล�าเลียงทางไซเล็มไป
                                                                    4   4
          สู่ส่วนเหนือดินและสะสมในผนังเซลล์ของใบเป็นชั้นบางๆ  ซิลิคอนที่สะสมในผนังเซลล์ของเนื้อเยื่อชั้นผิว
          (epidermis)  อยู่ในรูปซิลิกาอสัณฐาน  (amorphous  silica,  SiO .nH O)  จัดเรียงเป็นชั้นในผนังเซลล์
                                                                 2   2
          โดยเชื่อมโยงกับเซลลูโลสและเพ็กทิน ใบข้าวจึงมีสิ่งปกป้องสองชั้นคือผิวใบปกคลุมด้วยคิวติเคิล (cuticle)

          ถัดลงไปเป็นชั้นซิลิกา เป็นการปกป้องทางกายภาพที่ดี ส�าหรับกรดโมโนซิลิซิกอีกส่วนหนึ่งอยู่ในเซลล์และ
          ท�าหน้าที่ส่งเสริมกระบวนการด้านสรีระ ซิลิคอนมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของข้าวดังนี้
                   1) ซิลิคอนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น�้าของข้าว  เนื่องจากกรดโมโนซิลิซิกที่รากดูดได้ไปสะสม

          ในผนังเซลล์ของแผ่นใบ จึงช่วยลดการคายน�้าผ่านคิวติเคิล (cuticular transpiration) การใส่ปุ๋ยซิลิคอน
          ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น�้าในการผลิตข้าว  2  ส่วน  คือ  (1)  ประสิทธิภาพการใช้น�้าในการผลิตส่วน

          เหนือดิน (น�้าหนักแห้งที่ได้/หน่วยของน�้าที่ข้าวดูดใช้) สูงขึ้น 30 % และ (2) ประสิทธิภาพการใช้น�้าในการ
          ผลิตข้าวเปลือก (น�้าหนักเมล็ดที่ได้/หน่วยของน�้าที่ข้าวดูดใช้) สูงขึ้น 450 %
                   2) ซิลิคอนช่วยเพิ่มการสังเคราะห์แสง เนื่องจากซิลิคอนช่วยให้แผ่นใบแข็ง จึงตั้ง ไม่บังกันเอง

          ใบข้าวทั้งกอจึงรับแสงได้มากขึ้น  นอกจากนี้ซิลิคอนยังช่วยให้ดัชนีพื้นที่ใบ  (leaf  area  index)  สูงขึ้น
          ผลทั้งสองประการท�าให้อัตราการสังเคราะห์แสงสูงขึ้น 10 % ผลผลิตเมล็ดข้าวจึงสูงขึ้น นอกจากนั้นการ

          ที่ซิลิคอนท�าให้ใบตั้ง  ไม่บังแสงซึ่งกันและกัน  และส่งเสริมการสังเคราะห์แสง  ใบข้าวจึงมีอายุยาวขึ้นและ
          วายช้า
                   3) ซิลิคอนช่วยให้ล�าต้นแข็งแรง  ข้าวจึงล้มน้อยลง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ปุ๋ยไนโตรเจน

          อัตราสูง
                   4) ซิลิคอนช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรคข้าว  ที่เกิดจากเชื้อราหลายโรค  เช่น  โรค  blast
          (Magnaporthe  grisea)  ดังตารางที่  13.8  กลไกที่ซิลิคอนช่วยให้ข้าวต้านทานต่อโรค  blast  มี  2

          ประการ คือ (1) การสะสมซิลิกาในผนังเซลล์ของเนื้อเยื่อชั้นผิว กลายเป็นชั้นที่แข็งแรงจึงกีดกันมิให้ใยรา
          แทงทะลุเข้าไปในเซลล์  และ  (2)  ซิลิคอนส่งเสริมการใช้ประโยชน์แอมโมเนียมที่รากดูดได้และส่งมาที่ใบ
          ให้กลายเป็นสารประกอบโมเลกุลใหญ่อันเป็นโครงสร้างของเซลล์  ให้เหลือเป็นสารประกอบไนโตรเจน

          โมเลกุลเล็ก เช่น กรดอะมิโนและอะไมด์น้อยที่สุด เชื้อราจึงขาดสารอาหารส�าหรับการสร้างใยรา การเข้า
          ท�าลายข้าวช้าลง ความแข็งแรงของใบข้าวจากการสะสมซิลิกายังช่วยลดการท�าลายของแมลงได้บางส่วน

                     การใช้ปุ๋ยซิลิคอนอย่างเดียวช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรค brown spot ในข้าวได้ระดับ
          หนึ่ง แต่ได้ผลดีกว่าใช้ยาฆ่าเชื้อรา ถ้าใช้ปุ๋ยซิลิคอนร่วมกับยาฆ่าเชื้อราจะควบคุมโรคนี้ได้ดีกว่าวิธีอื่น



          370 จุลธาตุของข้าว (ส่วนที่ 2)                             ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   369   370   371   372   373   374   375   376   377   378   379