Page 201 -
P. 201
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การเติบโตของใบก็รวดเร็วขึ้นด้วย ระยะที่มีการแตกแขนงนั้น การสังเคราะห์โปรตีนของต้นและใบข้าว
สูงมาก และสูงกว่าการสังเคราะห์สารอินทรีย์อื่น เช่น แป้ง ลิกนินและเซลลูโลส ปัจจัยที่มีผลต่อการ
แตกแขนงของข้าวได้แก่ แสง อุณหภูมิ และความเข้มข้นของไนโตรเจนในต้นและใบ ข้าวที่มีความสามารถ
แตกกอได้สูง จะได้เปรียบใน 3 ประการ คือ
1) การใช้หรือครอบครองพื้นที่ การแข่งกันในการใช้แสงและทรัพยากรอื่นๆ จากสิ่งแวดล้อม
2) ชดเชยจ�านวนต้นบริเวณที่ต้นขาดหายไป ในกรณีที่มีจ�านวนต้นต่อพื้นที่น้อย
3) แม้ในสภาพปรกติ พันธุ์ข้าวที่มีการแตกแขนงเหมาะสมไม่มากเกินไปจนบังแสงกันเอง
มักมีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูง
อย่างไรก็ตาม ในการท�านาแบบนาหว่านซึ่งมีจ�านวนต้นค่อนข้างหนาแน่นนั้น ความ
สามารถในการแตกแขนงของข้าว มักไม่มีผลกระทบต่อผลผลิต เนื่องจากรวงข้าวส่วนใหญ่มาจากต้นแม่
เท่านั้น แต่ในกรณีที่อัตราการหว่านเมล็ดค่อนข้างต�่าและระยะระหว่างต้นห่าง พันธุ์ข้าวที่แตกแขนงมาก
มีแนวโน้มจะให้ผลผลิตสูงกว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างอายุของข้าว (ส�าหรับข้าวที่มีอายุ 120 วัน) กับการเปลี่ยนแปลง
ด้านความสูง จ�านวนใบของต้นแม่ จ�านวนแขนงต่อกอ และความยาวรากในแต่ละช่วงอายุของข้าว ดังนี้ คือ
1) ข้าวมีความสูงและความยาวรากมากที่สุดเมื่ออายุประมาณ 100 วัน
2) จ�านวนแขนงหรือหน่อต่อกอและจ�านวนใบของต้นแม่ (main culm) มากที่สุดเมื่อ
อายุประมาณ 80 วัน
3.3.2 การเปลี่ยนแปลงของจ�านวนแขนง
โดยปรกติผลผลิตของธัญพืช ขึ้นอยู่กับจ�านวนแขนงที่มีดอกต่อกอ ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพล
ของสภาพแวดล้อมขณะเกิดตาที่เจริญเป็นแขนง และในช่วงการเติบโตของแขนงเหล่านั้น จ�านวนแขนง
ของข้าวที่เกิดมาแล้วตาย ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเพียงพอของธาตุอาหารที่ข้าว
ได้รับในขณะนั้น ส�าหรับจ�านวนของแขนงข้าวจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะการแตกแขนง
รวดเร็วจนถึงระยะมีจ�านวนแขนงสูงสุด ที่อายุประมาณ 80 วัน ส�าหรับแขนงที่ไม่มีช่อดอกหรือไร้รวง
จะตายไป ท�าให้จ�านวนแขนงค่อยๆ ลดลง จนเหลือเฉพาะแขนงที่มีช่อดอกเท่านั้น ช่วงดังกล่าวเรียกว่า
ระยะการลดทอนจ�านวนแขนงไร้ช่อดอก ธาตุอาหารที่มีบทบาทส�าคัญในช่วงนี้คือไนโตรเจนและฟอสฟอรัส
เนื่องจากการให้ปุ๋ยทั้งสองธาตุนี้ช่วยเพิ่มจ�านวนแขนงได้มาก ส�าหรับอิทธิพลของไนโตรเจนมีดังนี้คือ การ
แตกแขนงจะเกิดขึ้นรวดเร็ว ถ้าส่วนเหนือดินมีไนโตรเจนมากกว่า 35 กรัม N/กิโลกรัม (3.5 %) หากต�่า
กว่า 25 กรัม N/กิโลกรัม (2.5 %) การแตกแขนงจะหยุด แต่ถ้าต�่ากว่า 15 กรัม N/กิโลกรัม (1.5 %)
แขนงจะเริ่มตาย ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสในส่วนเหนือดิน ก็มีความสัมพันธ์กับการแตกแขนงของข้าว
เช่นเดียวกัน กล่าวคือ การแตกแขนงจะเกิดขึ้นได้เมื่อต้นแม่มีฟอสฟอรัสมากกว่า 2.5 กรัม P/กิโลกรัม
(0.25 %)
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การเจริิญเติบโตของข้าว 197