Page 203 -
P. 203
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผลผลิตของข้าวมี 2 ลักษณะ คือ ผลผลิตเมล็ด (grain yield) และผลผลิตชีวภาพ (biological
yield) หรือน�้าหนักของส่วนเหนือดินทั้งหมด (ฟาง+เมล็ด) ซึ่งได้มาจากการสะสมสารอินทรีย์จากการ
สังเคราะห์แสงตลอดช่วงการเติบโต
อัตราส่วนระหว่างผลผลิตเมล็ดกับผลผลิตชีวภาพ เรียกว่า ดัชนีการเก็บเกี่ยวเมล็ด (grain
harvest index) ซึ่งถูกควบคุมโดยระบบการจัดสัดส่วน (partition) อาหารที่ได้จากการสังเคราะห์แสง
โดยการเคลื่อนย้ายอาหารบางส่วนจากต้นและใบมาสะสมในเมล็ด
ดังนั้นผลผลิตเมล็ด จึงมีความสัมพันธ์กับน�้าหนักแห้งของส่วนเหนือดิน เช่น เมื่อน�้าหนักส่วน
เหนือดินของข้าวนาน�้าขังได้ 1,120 กิโลกรัมต่อไร่ จะให้น�้าหนักเมล็ดสูงสุดประมาณ 880 กิโลกรัมต่อไร่
ดังนั้นผลผลิตเมล็ดอาจเพิ่มขึ้นจาก 2 ปัจจัย คือ
1) เพิ่มน�้าหนักแห้งทั้งหมดให้มีเพียงพอส�าหรับการสร้างเมล็ด หรือ
2) เพิ่มดัชนีการเก็บเกี่ยวเมล็ด ส�าหรับค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวเมล็ดสูงสุด ของข้าวนาหว่านใน
แคลิฟอร์เนีย คือ 0.59
3.5 ดัชนีพื้นที่ใบ
ดัชนีพื้นที่ใบ (leaf area index) มีความส�าคัญ เนื่องจากน�้าหนักแห้งของข้าวมีความสัมพันธ์
กับปริมาณแสงอาทิตย์ส�าหรับการสังเคราะห์แสงที่ใบข้าวได้รับ (intercepted photosynthetically
active radiation, IPAR) ซึ่งใบข้าวจะเปลี่ยนพลังงานแสงดังกล่าวมาเป็นน�้าหนักแห้ง ส�าหรับปริมาณ
แสงที่ใบข้าวได้รับ ยังขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ใบ หรือดัชนีพื้นที่ใบ (leaf area index)
ดัชนีพื้นที่ใบ หมายถึงขนาดพื้นที่ใบ (leaf surface area) ต่อพื้นที่ปลูก (land surface)
ดัชนีพื้นที่ใบข้าวหาได้ 2 วิธี คือ วัดพื้นที่ใบโดยตรงด้วยมาตรวัดพื้นที่ใบ (leaf area meter) หรือค�านวณ
โดยอ้อมด้วยค่าความยาวใบ (leaf length, L) ความกว้างใบ (leaf width, W) และ K เป็นตัวปรับค่า
(adjustment factor) จากสูตร
พื้นที่ใบ (leaf area) = K x L x W
ส�าหรับตัวปรับค่า (adjustment factor, K) ผันแปรตามรูปร่างของใบข้าวแต่ละพันธุ์ ความ
สมบูรณ์ของธาตุอาหารที่ข้าวได้รับ และระยะการเติบโตของใบข้าว ค่า K ที่ใช้ได้กับทุกระยะการเติบโต
ยกเว้นระยะกล้า (seedling) และระยะสุกแก่ (maturity growth stage) คือ K = 0.75 ส�าหรับระยะที่
ยกเว้นดังกล่าว ควรใช้ K = 0.67 แทน เมื่อได้ค่าพื้นที่ใบต่อแขนง (leaf area per tiller, A มีหน่วย m 2
2
-4
2
หากวัดพื้นที่ใบใช้หน่วย cm ก็เปลี่ยนเป็น m ดังนี้ m = cm x 10 ) และจ�านวนแขนงต่อตารางเมตร
2
2
แล้วก็น�ามาค�านวณดัชนีพื้นที่ใบ (leaf area index, LAI หน่วยตารางเมตรต่อตารางเมตร หรือ
2
m m ) ดังนี้
-2
2
2
LAI (m m ) = A (m ) x tiller number/land surface (m )
2
-2
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การเจริิญเติบโตของข้าว 199