Page 199 -
P. 199
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หรือสุกแก่ของข้าวมีความส�าคัญมาก เนื่องจากเป็นระยะที่ก�าหนดจ�านวนเมล็ดและน�้าหนักเมล็ด ส�าหรับ
ความหมายของการเติบโตในแต่ละระยะแสดงไว้ในตารางที่ 6.2
ต่อไปนี้จะอธิบายในรายละเอียดของแต่ละระยะการเติบโต โดยก�าหนดให้เป็นหัวข้อใหญ่
3
ระยะการเติบโตไม่อาศัยเพศ
ระยะการเติบโตไม่อาศัยเพศ หรือระยะก่อนมีดอกอ่อน เริ่มจากเมล็ดงอกจนถึงเริ่มการก�าเนิด
ช่อดอก กระบวนการหลักของการเติบโตในระยะดังกล่าวคือการเพิ่มของชี้วัดต่อไปนี้ ความสูง ดัชนีพื้นที่ใบ
น�้าหนักใบ ความยาวราก และการแตกแขนง ท�าให้จ�านวนแขนง/ต้นเพิ่มขึ้น
ในระยะการเติบโตไม่อาศัยเพศ รากข้าวดูดไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและก�ามะถัน
ได้มาก สามารถสังเคราะห์โปรตีนปริมาณมากและรวดเร็ว จึงกระตุ้นการแตกแขนงและเพิ่มพื้นที่ใบ ส�าหรับ
ข้าวที่ได้รับธาตุอาหารเพียงพอตลอดช่วงการเติบโตนั้น จ�านวนแขนงต่อพื้นที่ มีความสัมพันธ์กับจ�านวน
รวงต่อพื้นที่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบผลผลิตที่ส�าคัญอย่างหนึ่ง โดยปรกติช่วงการเติบโตไม่อาศัยเพศใช้เวลา
ประมาณครึ่งหนึ่งของช่วงชีวิตทั้งหมด ส�าหรับช่วงเวลาระหว่างที่ข้าวมีจ�านวนแขนงสูงสุด กับวันเริ่มก�าเนิด
ช่อดอก มีการเปลี่ยนแปลงในทางสรีระที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนพืช เพื่อกระตุ้นให้ตายอดพัฒนาเป็นตาดอก
และให้ก�าเนิดดอกอ่อน ช่วงดังกล่าวเรียกว่าช่วงหลัง (ช่วงพัก) การเติบโตไม่อาศัยเพศ (vegetative lag
period)
3.1 ความสูงของต้น
ความสูงของต้นข้าวในระยะการเติบไม่อาศัยเพศ คือ ความยาวจากระดับพื้นดินจนถึงปลายใบ
ซึ่งยาวที่สุด ส่วนความสูงในระยะสุกแก่ คือ ความยาวจากระดับพื้นดินจนถึงปลายรวง ความสูงเพิ่มขึ้น
ตามอายุ เป็นเส้นแบบคล้ายตัวเอส (sigmoid) ภาพที่ 6.3 แสดงความสูงของต้นข้าวบางพันธุ์เมื่ออายุ 40,
65, 100 และ 130 วัน โดยปรกติต้นข้าวที่สูงจะล้มง่าย เมื่อใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูง ดังนั้นนักปรับปรุง
พันธุ์ข้าวจึงเพ่งเล็งไม่ให้ต้นข้าวสูงเกินไป เพื่อให้สามารถใช้ปุ๋ยไนโตรเจนส�าหรับเพิ่มผลผลิตได้โดยต้นข้าว
ไม่ล้ม ต้นข้าวที่พึงประสงค์ส�าหรับนักปรับปรุงพันธุ์มีความสูง 100-130 ซม.
3.2 การเติบโตของราก
การเติบโตของรากมีดังนี้ ในระยะแรกต้นอ่อนมีรากแรกเกิด รากพิเศษแรกเกิดและรากที่เกิดตามข้อ
ต่อมาไม่นานนัก ระบบรากจะประกอบด้วยรากที่เกิดตามข้อและรากพิเศษ ส�าหรับขนรากของรากเหล่านี้
มีบทบาทส�าคัญในการดูดน�้าและธาตุอาหารจากดิน ธาตุไนโตรเจนส่งเสริมการเติบโตของรากอย่างมาก
เนื่องจากการแตกรากจะมีได้เมื่อความเข้มข้นของไนโตรเจนในส่วนเหนือดินมีมากกว่า 10 กรัม/กิโลกรัม
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การเจริิญเติบโตของข้าว 195