Page 195 -
P. 195
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระยะ 2 แตกแขนงหรือแตกหน่อ (tillering) เริ่มหลังจากต้นข้าวมีใบที่ 5 (V5 stage) โดยมี
แขนงแรกเรื่อยไปจนต้นข้าวแตกแขนงสูงสุด (maximum tillering) การแตกแขนงหรือการแตกหน่อนั้น
หน่อจะแตกจากตาล่างของล�าต้นซึ่งอยู่ตามซอกของกาบใบ (axillary bud) ได้แขนงหรือหน่อ (tiller)
ใหม่ โดยแขนงหรือหน่อปฐมภูมิหรือหน่อล�าดับแรก (primary tillers) แตกจากตาที่ข้อล่างๆ ของต้นเดิม
(main stem) ระบบการแตกแขนงในต้นแม่ของข้าวเป็นดังนี้ (Moldenbauer et al., 2010)
(1) หลังจากมีใบที่ 5 จะเริ่มมีแขนงล�าดับแรก แขนงแรกแตกจากตาที่ซอกกาบใบที่สอง
(2) หลังจากมีใบที่ 6 แขนงที่สองแตกจากตาตรงซอกกาบใบที่สาม
(3) แขนงต่อไปของต้นแม่ จะแตกจากตาข้างของซอกกาบใบที่ n-3 (n จ�านวนใบที่มี) เช่น
หลังจากมีใบที่ 7 แขนงที่ 3 จะแตกจากตาของซอกกาบใบที่สี่ (7-3=4)
ต่อมาแขนงหรือหน่อทุติยภูมิหรือล�าดับที่สอง (secondary tillers) จะแตกจากตาตามข้อล่างๆ
ของหน่อปฐมภูมิที่เติบโตแล้ว ในระยะนี้ข้าวมีการแตกแขนงตติยภูมิหรือล�าดับที่สาม (tertiary tillers)
จากแขนงทุติยภูมิด้วย ในช่วงนี้ต้นข้าวมีจ�านวนใบและความยาวของใบเพิ่มค่อนข้างเร็ว
การแตกแขนงหรือหน่อของข้าวด�าเนินไปจนได้จ�านวนแขนงสูงสุดหรือการแตกกอสูงสุด ในขั้นนี้
แทบจะไม่เห็นความแตกต่างระหว่างต้นแม่กับแขนง ส�าหรับข้าวนาหว่านซึ่งมีต้นข้าว 10-20 ต้น/ตารางฟุต
อาจมีแขนงที่มีรวง (panicle bearing tillers หรือ effective tillers) เพียง 2-5 แขนงต่อกอ แต่ข้าว
นาด�าอาจมีจ�านวนแขนง 10-30 แขนง/กอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะปักด�า อย่างไรก็ตาม หลังจากช่วงแตกกอ
สูงสุดไปแล้ว แขนงที่เกิดขึ้นใหม่จะตาย เนื่องจากอาหารซึ่งมาเลี้ยงหน่อมีไม่เพียงพอ
ระยะ 3 ล�าต้นยืดล�าตัว (stem elongation) เป็นระยะก่อนการก�าเนิดช่อดอก คาบเกี่ยวกับ
ช่วงท้ายของระยะแตกหน่อ ดังนั้นในระยะนี้จ�านวนหน่อก็ยังเพิ่มต่อไป ควบคู่กับการเพิ่มความสูงของ
ต้นข้าวอันเกิดจากการยืดปล้อง (internode elongation) ในขณะเดียวกันพื้นที่ใบจะเพิ่มขึ้น เนื่องจาก
ความกว้างและความยาวใบเพิ่มขึ้นอย่างมาก ข้าวพันธุ์เบา (short-duration varieties) ซึ่งสุกแก่ภายใน
105-120 วัน มีลักษณะของระยะ 3 แตกต่างจากข้าวพันธุ์หนัก (long-duration varieties) ซึ่งสุกแก่
ภายใน 150 วัน กล่าวคือ ในข้าวพันธุ์เบานั้น ช่วงเวลาของการแตกกอสูงสุด ล�าต้นยืดตัวและเริ่มก�าเนิด
ช่อดอกจะเกิดต่อเนื่องในเวลาที่ใกล้เคียงกันมาก ส่วนข้าวพันธุ์หนัก เมื่อแตกกอสูงสุดและผ่านระยะล�าต้น
ยืดตัวแล้วจะมีช่วงชะลอหรือพักการเติบโต (lag vegetative period) หรือเติบโตช้าลง ก่อนที่เข้าสู่ระยะ
ก�าเนิดช่อดอก
ส�าหรับช่วงชะลอหรือพักการเติบโต คือ ช่วงหลังจากแตกกออย่างรวดเร็ว (active tillering)
จนถึงเริ่มเข้าสู่ระยะเจริญพันธุ์ ในช่วงนี้จ�านวนแขนงลดลงเนื่องจากแขนงที่แตกล่าได้ตายไป ส่วนความสูง
และขนาดใบเพิ่มอย่างช้าๆ
เนื่องจากจ�านวนรวงจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับจ�านวนแขนงหรือหน่อที่มีช่อดอก ดังนั้นระยะ
การเติบโตไม่อาศัยเพศ จึงเป็นระยะที่ก�าหนดศักยภาพของจ�านวนช่อดอกต่อพื้นที่ และจะกลายเป็น
จ�านวนรวงต่อพื้นที่
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การเจริิญเติบโตของข้าว 191