Page 79 -
P. 79
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
72 พันธุศาสตร์ประชากร
สำาหรับการปรับปรุงพันธุ์
เท่านั้น น้อยครอบครัวที่จะมีจ�านวนลูกมากกว่า 3 คน และถ้าคนที่เป็นหมันแต่งงานกัน พบว่า ยีนที่
กลายพันธุ์ก็จะหายไปในรุ่นถัดไป ถ้าครอบครัวนี้มีลูกคนเดียว โอกาสที่ยีน a หายไปจากประชากรเท่ากับ ½
ในขณะที่ครอบครัวที่มีลูก 2 คน พบว่า โอกาสที่ยีน a จะหายไปเป็น (½) หรือ ¼ และมีโอกาสที่ยีน a
2
จะคงอยู่ในประชากรเท่ากับ ¾ ถ้าให้ลูกเกิดในประชากรเท่ากับ n พบว่า มีโอกาสที่ยีน a หายไป
เท่ากับ (½) ซึ่งโอกาสที่ยีน a จะคงอยู่ในประชากรเท่ากับ 1 - (½) จะเห็นได้ว่า การเกิดการกลายยีนแบบนี้
n
n
มีโอกาสที่ยีน a จะคงอยู่ในประชากรได้เมื่อมีลูกที่เกิดขึ้นหลายคน และถ้าประชากรมีขนาดเล็ก
โอกาสการหายไปของยีน a จะเกิดได้มากขึ้น
2. กำรเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกิดขึ้นตลอดเวลำ (recurrent mutation) การเปลี่ยนแปลง
แบบนี้ ถ้ามีค่าคงที่แล้วก็จะสามารถหาความถี่ของยีนและจีโนไทป์ที่อยู่ในสภาพสมดุล ได้เป็น 2 แบบ คือ
2.1 กำรเปลี่ยนแปลงที่มีทิศทำงเดียว (irreversible mutation) เป็นการกลายพันธุ์ที่เกิด
การเปลี่ยนแปลงจากยีน A เป็น a เท่านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงยีนจาก a เป็น A โดยก�าหนดให้ u เป็นอัตรา
การกลายพันธุ์ของยีนจาก A เป็น a ในแต่ละชั่ว จะเห็นได้ว่าความถี่ของยีน a ในชั่วถัดไป มีค่าเพิ่มขึ้น
จนกระทั่ง ประชากรที่คงอยู่เหลือแต่ยีน a เท่านั้น ซึ่งมีค่า q = 1 นั่นเอง สามารถท�าความเข้าใจได้ 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 ก�าหนดให้ ความถี่ของยีน A เท่ากับ p และความถี่ของยีน a เท่ากับ q
n n
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงยีน A เป็น a จากที่มี u เป็นอัตราการกลายของยีน A เป็น a ก็จะได้ความถี่
ของยีน A ที่เกิดขึ้นหลังการกลายยีน เท่ากับ up เพราะฉะนั้น ความถี่ของยีน A ในรุ่นถัดไป คือ p
0 1
p = p - up
1 0 0
= (1 - u)p
0
ในรุ่นถัดไปการกลายพันธุ์ของยีน A จะเป็น up ท�าให้ความถี่ของยีน A มีค่าเท่ากับ
1
p = (1 - u)p - u(1 - u)p
2 0 0
= (1 - u)p (1 - u)
0
2
p = (1 - u) p
2 0
เมื่อมีการกลายพันธุ์อีก n ชั่ว
p = (1 - u) p
n
n 0
จะเห็นได้ว่า เมื่อมีการเกิด n หลายชั่วหรือหลายรุ่นส่งผลต่อค่า (1 - u) มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ ท�าให้ q
n
n
มีค่าเท่ากับ 1 หมายถึง ประชากรนี้จะมีแต่ยีน a หรือมีจีโนไทป์ aa ซึ่งประชากรมีสมดุลแบบถาวร
(stable equilibrium)