Page 78 -
P. 78

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                                                 บทที่ 2



                              กำรเปลี่ยนแปลงควำมถี่ของยีน





                     การเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนในประชากร ส�าหรับประชากรที่อยู่ในสภาพสมดุล หมายถึง
              ประชากรที่มีค่าความถี่ของจีโนไทป์และยีนคงที่จากชั่วก่อนหน้าไปยังชั่วถัดไปเมื่อมีการผสมพันธุ์

              อย่างสุ่มของจีโนไทป์ที่มีปรากฏทั้งหมดในประชากร ส�าหรับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของจีไนไทป์และยีน
              ที่เกิดขึ้นนั้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแบบทราบทิศทาง ส่วนใหญ่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงความถี่ที่เกิดขึ้น

              จากการกลายพันธุ์ การอพยพ และการคัดเลือก เรียกว่า systematic process ส่วนการเปลี่ยนแปลง
              ความถี่ของจีโนไทป์และยีนแบบไม่ทราบทิศทางของการเปลี่ยนแปลงจะเกิดในกรณีประชากรที่มีขนาดเล็ก

              เรียกว่า dispersive process

              กำรกลำยยีน (mutation)


                     การกลายยีนเป็นการเปลี่ยนแปลงยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่ง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ของ
              ยีนและจีโนไทป์ในประชากร สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมที่เกิดขึ้นไปสู่ลูกหลานได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลง

              ที่เกิดขึ้นมีหลายแบบทั้งการเปลี่ยนแปลงในระดับของยีน (point mutation) การเปลี่ยนแปลงของ
              โครโมโซม (chromosome mutation) การขาดหายไปบางส่วนของโครโมโซม (deficiency) การเพิ่ม

              บางส่วนของโครโมโซม (duplication) การเปลี่ยนต�าแหน่งของยีน (inversion) การที่บางส่วนของ
              โครโมโซมหนึ่งไปต่อกับอีกโครโมโซมหนึ่ง (translocation) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงจ�านวนชุดโครโมโซม

              (euploidy) และการเปลี่ยนแปลงจ�านวนโครโมโซม (aneuploidy) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกิดขึ้นจะมี
              2 แบบ คือ การเปลี่ยนของยีนเพียงครั้งเดียวแล้วไม่เกิดขึ้นอีกและการเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกิดขึ้น

              ตลอดเวลาสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การเปลี่ยนแปลงที่มีทิศทางเดียวและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดแบบ
              กลับไปมาหรือแบบ 2 ทิศทาง

                     1.  กำรเปลี่ยนแปลงของยีนเพียงครั้งเดียว เรียกว่ำ non-recurrent mutation
                       ส�าหรับลักษณะที่ควบคุมด้วยยีน 1 คู่ ประกอบด้วย 2 อัลลีล คือ อัลลีล A และ a นั้น

              พบว่า ถ้าจีโนไทป์ AA มีการกลายยีนจะได้จีโนไทป์ Aa และจีโนไทป์ Aa เกิดการกลายของยีน
              จะได้ลูกที่มีจีโนไทป์ aa แต่ถ้าในสิ่งมีชีวิตที่มี 2 เพศ การอยู่รอดของ a จะน้อยลง เนื่องจากโอกาส

              การเกิดลูกมีน้อย ซึ่งการคงไว้ของยีน a จะเกิดจากพ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ Aa เท่านั้น ตัวอย่างที่แสดงได้ชัดเจน
              คือ มนุษย์ ซึ่งมีโอกาสการเกิดลูกแต่ละครั้ง จ�านวนไม่มาก ยิ่งสมัยนี้แต่ละครอบครัวจะมีลูกเพียง 1-2 คน
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83