Page 167 -
P. 167
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
160 พันธุศาสตร์ประชากร
สำาหรับการปรับปรุงพันธุ์
หาต�าแหน่งของยีนและจ�านวนของอัลลีลเพื่อใช้ในการตรวจสอบประชากรว่ามี background ของพืช
ที่ต้องการปรับปรุงพันธุ์หรือไม่ นอกจากนี้ ในขั้นตอนการผสมพันธุ์ยังสามารถช่วยให้ไม่ต้องมีการสุ่ม
ในแง่การตัดสินใจว่าควรผสมต้นหรือพันธุ์ไหนก่อน หรือแม้แต่บางครั้งต้องท�าการผสมข้ามชนิดก็สามารถ
ที่จะท�าการตัดสินใจได้ว่าชนิดไหนน่าจะประสบความส�าเร็จในการผสมกับต้นพืชที่เราต้องการให้เกิด
การเปลี่ยนแปลง
ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะน�าเครื่องหมายโมเลกุลมาใช้ในการคัดเลือกโดยมีการศึกษาเรื่อง
marker assisted selection (MAS) ที่ต้องอาศัย เวลา ประชากร รวมทั้งข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อใช้เป็น
ตัวแทนในการกล่าวว่าเครื่องหมายโมเลกุลนี้สามารถที่จะน�ามาใช้ส�าหรับการคัดเลือกได้จริงเมื่อมี
การเปลี่ยนแปลงประชากรแล้วยังคงให้ผลที่แม่นย�าในการคัดเลือกลักษณะที่ต้องการ ซึ่งไม่ขอกล่าว
ในบทนี้ แต่จะกล่าวเฉพาะเรื่องความแปรปรวนของประชากรรวมทั้งการจัดกลุ่มและการหาความ
หลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
ส�าหรับเครื่องหมายโมเลกุลที่นิยมใช้แบ่งได้เป็น แบบ codominant และ dominant
ซึ่งแตกต่างกันตรงที่ผลผลิตที่ได้รับ คือ แถบดีเอ็นเอ ที่สามารถแยกต้นหรือสายพันธุ์ที่เป็น
heterozygote ออกจากพวกที่เป็น homozygote ในปัจจุบัน มีเครื่องหมายโมเลกุลที่ใช้ ได้แก่ AFLP,
RAPD, RFLP, SSR, ISSR, SCAR ที่มีการแสดงออกจากแถบดีเอ็นเอที่ปรากฏ และอีกวิธีที่นิยมใช้มาก คือ
การแสดงออกจากล�าดับเบส หรือที่เรียกว่า SNP ส�าหรับตัวอย่างผลของการใช้เครื่องหมายโมเลกุล
จ�านวน 4 loci จากต้นพืชเพียงต้นเดียว ได้ผลดังนี้
loci A B C D
Allele 1
Allele 2
Allele 3
ก�าหนดให้ ใช้เครื่องหมายโมเลกุลจ�านวน 4 เครื่องหมาย หรือเทียบเท่าเป็นต�าแหน่งของยีน หรือ
locus A, B, C, D โดยที่ต�าแหน่ง A ประกอบด้วย 3 อัลลีล คือ A1, A2, A3 แสดงดังภาพ
loci A B C D
Allele 1 A1 B1 C1 D1
Allele 2 A2 B2 D2
Allele 3 A3