Page 166 -
P. 166

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                                                 บทที่ 7



                      กำรศึกษำควำมแปรปรวนของประชำกร



                                  โดยใช้เครื่องหมำยโมเลกุล




                     ส�าหรับการศึกษาความแปรปรวนของประชากรที่เกิดขึ้นด้วยเครื่องหมายโมเลกุล มีประโยชน์
              อย่างมากส�าหรับงานปรับปรุงพันธุ์พืชในปัจจุบัน เนื่องจากสมการ P = G + E ที่กล่าวว่าการแสดงออก

              ของพืชที่ปรากฏนั้นเกิดจากอิทธิพลของจีโนไทป์และสภาพแวดล้อม เมื่อพิจารณาฟีโนไทป์ที่เกิดขึ้นและ
              ท�าการวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะของแต่ละสายพันธุ์หรือพันธุ์หรือต้นแล้ว ก็ต้องมีการค�านึงถึงอิทธิพลของ

              สภาพแวดล้อมประกอบด้วยทุกครั้งของข้อมูลที่บันทึก แต่เมื่อมีเครื่องหมายโมเลกุลเข้ามาใช้ในปัจจุบัน
              ท�าให้สามารถลดอิทธิพลของสภาพแวดล้อมได้ ด้วยการสกัดดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ หรือโปรตีนจากพืช
              แล้วน�าเครื่องหมายโมเลกุลมาช่วยในการตรวจสอบหรือแม้แต่การหาล�าดับเบสที่ก�าลังเป็นที่นิยม

              เนื่องจากปัจจุบันการหาล�าดับเบสมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง

                     ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เครื่องหมายโมเลกุลส�าหรับกระบวนการของการปรับปรุงพันธุ์พืช
              สามารถน�าเครื่องหมายโมเลกุลมาสนับสนุนในทุกขบวนการตั้งแต่ introduction, selection และ
              hybridization ส�าหรับ introduction นิยมมากเนื่องจากอยู่ในขั้นตอนของการรวบรวมสายพันธุ์

              หรือพันธุ์หรือต้น เป็นเชื้อพันธุกรรมที่รวบรวมทั้งในและนอกประเทศ ท�าให้นักปรับปรุงพันธุ์พืชสามารถ
              ที่จะทราบถึงความสัมพันธ์ของจีโนไทป์ในแต่ละพันธุ์หรือสายพันธุ์ได้ ส่งผลท�าให้สามารถที่จะตัดสินใจ

              ได้ว่าควรที่จะมีการจัดกลุ่มพืชที่ต้องการปรับปรุงพันธุ์ไว้ด้วยกันหรือแยกกลุ่มกันโดยน�าข้อมูลจีโนไทป์
              มาประกอบกับข้อมูลฟีโนไทป์ก็จะท�าให้เกิดความน่าเชื่อถือมากขึ้น รวมทั้งน�ามาใช้ในการรักษา
              เชื้อพันธุกรรมไว้หรือแม้แต่การตัดสินใจในการเลือกคู่ผสมส�าหรับสร้างประชากรใหม่เพื่อให้ได้

              ความหลากหลายทางพันธุกรรมในขั้นตอนถัดไปของงานปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งกระบวนการผสมพันธุ์
              หรือคัดเลือกพันธุ์นั้น ไม่มีล�าดับของกระบวนการที่แน่ชัด ถ้าเชื้อพันธุกรรมที่มีจ�านวนมากควรที่จะมี

              การคัดเลือกก่อนผสมพันธุ์ แต่ถ้าความหลากหลายทางพันธุกรรมต�่าก็ต้องท�าการสร้างประชากรด้วย
              การผสมพันธุ์ก่อน รวมทั้งสามารถที่จะใช้ในการยืนยันว่าต้นลูกผสมในชั่วที่ 1 นั้น เป็นลูกผสมจริง
              หรือไม่ ในลักษณะทางฟีโนไทป์ที่ไม่สามารถจ�าแนกได้ เช่น การผสมข้ามระหว่างถั่วดอกสีม่วงกับ

              ถั่วดอกสีม่วง เป็นต้น รวมทั้งช่วยลดระยะเวลาในการคัดเลือกพันธุ์พืชอายุยาว ลดจ�านวนพื้นที่ปลูกพืช
              ซึ่งก่อนที่จะมีเครื่องหมายโมเลกุลจะต้องบันทึกข้อมูลตั้งแต่เมล็ดงอกจนกระทั่งได้ผลผลิตแล้ว
              ถึงจะท�าการตัดสินใจได้ การใช้เครื่องหมายโมเลกุลจะช่วยลดระยะเวลาในการด�าเนินงาน รวมทั้งสามารถ
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171