Page 160 -
P. 160
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 6
ลักษณะเชิงปริมำณที่เกี่ยวข้องกับกำรปรับปรุงพันธุ์
ส�าหรับการปรับปรุงพันธุ์พืช ส่วนใหญ่จะเป็นการตั้งวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงลักษณะ
ที่เป็นปริมาณ (quantitative traits) โดยลักษณะปริมาณจะควบคุมด้วยยีนหลายคู่ มีสภาพแวดล้อม
เข้ามาเกี่ยวข้องสูง ซึ่งการค�านวณค่าต่างๆ ของ genotypic value ที่เกิดขึ้นจะเป็นการค�านวณค่า
จาก phenotypic value ผ่านค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน และค่าความแปรปรวนร่วม จะเห็นได้ว่า
บางครั้งมีการน�าค่ามาคิดแบบบวกลบธรรมดาซึ่งได้ค่าที่ไม่จริงเพราะงานวิจัยอาจมีการปลูกมากกว่า 1
สภาพแวดล้อมและจ�านวนต้นที่เก็บไม่ได้มาจากต้นเดียวท�าให้ในการค�านวณหาความแปรปรวน
ทางพันธุกรรม ต้องพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของประชากร ซึ่งการแสดงลักษณะที่ปรากฏจะเป็นค่าของ
ฟีโนไทป์ (phenotypic value; P) ประกอบด้วยค่าของจีโนไทป์ (genotypic value; G) ร่วมกับค่าที่
เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยนั่น คือ ค่าของสภาพแวดล้อม (environmental value; E) ดังสมการ
P = G + E
ส�าหรับ genotypic value มีการคิดค่าที่เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยของทุกจีโนไทป์ในประชากร
ที่ศึกษา ในกรณีที่มียีน 1 คู่ ก�าหนดให้
AA เป็น genotype พ่อหรือแม่แล้วแต่ทางผู้วิจัยก�าหนด โดยก�าหนดให้ A เป็นอัลลีลที่เพิ่ม
ลักษณะ
aa เป็น genotype พ่อหรือแม่แล้วแต่ทางผู้วิจัยก�าหนด โดยก�าหนดให้ a เป็นอัลลีลที่ลดลักษณะ
+a เป็นค่า genotypic value ของจีโนไทป์ AA
–a เป็นค่า genotypic value ของจีโนไทป์ aa
d เป็นค่า genotypic value ของจีโนไทป์ Aa
m เป็นค่าจุดกึ่งกลางระหว่างจีโนไทป์ AA และ aa เรียกว่า mid point
aa m d Aa AA
- a + a
จำกภำพ แสดงต�าแหน่งของยีน จีโนไทป์ และ genotypic value