Page 94 -
P. 94
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
88
เห็นตุ่มนูนสีนํ้าตาลดํา ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดซึ่งเป็น pycnidium ของเชื้อราสาเหตุเกิดฝังอยู่ในเนื้อเยื่อของ
ใบที่เป็นแผลนั้นอยู่ทั่วไป
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Phaeoseptoria musae มีสปอร์ conidia อยู่ใน pycnidium เป็นจํานวน
มาก เมื่อสปอร์แก่ก็จะหลุดปลิวไปกับลม หรือถูกนํ้าฝนชะพัดพาไปเข้าทําลายต้นอื่นอีก
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าแพร่ระบาด ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20
ลิตร ให้ทั่ว ทั้งแปลงปลูก
9. โรคใบจุดสีนํ้าตาลเทา
ลักษณะอาการ :
โดยทั่วไปแผลจะเกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลบนผิวใบ แล้วแผลจะขยายใหญ่สีนํ้าตาลอ่อน พื้น
ตรงกลางแผลแห้ง มีสีนํ้าตาลปนเทา ขอบริมแผลสีนํ้าตาลเข้มเด่นชัด และมีขอบสีเหลืองเกิดล้อมโดยรอบ
อยู่อีกชั้นหนึ่ง การขยายขนาดของแผลจะขยายตามความยาวของเส้นใบมีขนาดประมาณ 0.4-1×2-8.5 ซม.
แผลอาจเชื่อมติดต่อกันเป็นทางยาว หรือเกิดกันอยู่เป็นกลุ่ม ซึ่งทําให้เห็นลักษณะอาการของโรคได้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่แผลมักจะเกิดตามบริเวณริมใบ ทําให้ผืนใบส่วนนั้นแห้งเป็นบริเวณกว้าง บนพื้นแผลที่แห้ง
จะมีสปอร์ของเชื้อราสาเหตุเกิดเจริญอยู่ทั่วไป โรคนี้มักจะเป็นมากกับใบที่ยังเจริญไม่เต็มที่ตามขอบใบและ
ปลายใบแล้วจึงจะขยายการทําลายเข้าสู่ผืนใบ
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Cordana musae เกิดสปอร์ conidia เดี่ยวหรือเป็นกลุ่มบนก้าน
conidiophore บนพื้นแผลก้านของสปอร์จะเปราะหักง่าย ปลิวไปกับลมหรือนํ้าฝนพัดพาแพร่ระบาดไป
การป้องกันและกําจัด :
พ่นด้วยสารเคมี เช่น เอดิเฟนฟอส 20 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่วสําหรับใบที่เป็นโรคมากก็
ควรตัดออกไปเผาไฟทําลายเสีย
10. โรคบันชีทอป
ลักษณะอาการ :
ในระยะแรกเมื่อเชื้อวิสาเข้าไปสู่เซลล์เนื้อเยื่อของใบอ่อน จะเกิดเป็นขีดสีเขียวเข้มบนเส้น
ใบย่อยที่อยู่บนผืนใบ และบนเส้นกลางใบ หรือก้านกลางใบ และก้านใบ ลักษณะอาการดังกล่าวจะเห็นได้
ชัดเจนบนผิวใบด้านล่าง ขนาดประมาณ 0.75×25 มม. ใบถัดลงมาจะมีลักษณะอาการเหมือนใบยอดใบ
ทั้งหมดจะมีขนาดเล็ก สั้น ตั้งตรง ริมขอบใบจะขาวซีดและห่อม้วนเข้ามาหาผืนใบ ใบที่สั้นมีขนาดเล็กจะ