Page 92 -
P. 92

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       86


                               การป้องกันและกําจัด :

                                            ทําได้โดยหลังจากตัดกล้วยออกจากเครือมาเป็นหวี แล้วควรทําความสะอาดและซุบในนํ้า
               ที่ผสมสารป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร แล้วผึ่งให้แห้งก่อนบรรจุหีบห่อซึ่งใช้

               สําหรับการผลิตกล้วยส่งออกเท่านั้น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยทําให้กล้วยไม่ถูกเชื้อราดังกล่าวเข้าทําลาย



               5. โรครากปม

                        ลักษณะอาการ :
                               รากฝอยของกล้วยจะถูกไส้เดือนฝอยรากปมเข้าทําลาย ทําให้รากบวมเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ

               สลับกับส่วนของรากที่มีขนาดปกติ จึงทําให้มีลักษณะเหมือนรากเกิดเป็นปม เมื่อตรวจดูภายในส่วนของ

               เนื้อเยื่อจะพบว่า มีไส้เดือนฝอยตัวเมียมีลักษณะคล้ายถุงหรือหยดนํ้าใส สะท้อนแสงมีขนาดเท่าปลายปากกา

               หรือดินสอ   หรือหัวเข็มหมุดขนาดเล็ก เกิดฝังตัวอยู่และมีกลุ่มไข่อยู่บริเวณแผลนั้นบางครั้งจะพบว่ารากของ
               กล้วยจะถูกทําลายมาก  ทําให้ไม่อาจดูดนํ้าและแร่ธาตุอาหารขึ้นไปเลี้ยงส่วนบนของต้นกล้วยได้ ฉะนั้น

               มักจะพบว่าใบกล้วยมีสีเขียวอมเหลือง  อาจแสดงอาการเหี่ยวในเวลากลางวัน อันเป็นผลให้กล้วยทรุดโทรม

               ผลผลิตตํ่า
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม  Meloidogyne  incognita เข้าทําลาย ปกติตัวอ่อนของไส้เดือน

               ฝอยจะเจริญและเคลื่อนย้ายไปมาในดินที่มีความชื้นสูง  แต่เมื่อมีปริมาณนํ้ามากก็จะไหลพัดพาเอาตัว

               ไส้เดือนฝอยเคลื่อนย้ายไปตามนํ้า  ระบาดไปทั่ว
                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อตรวจพบว่ามีโรคนี้แพร่ระบาด จึงควรใช้สารเคมี เช่น คาร์โบฟูแรน 25 กรัมต่อกล้วย

               1 กอ โดยขุดดินรอบ ๆ โคนแล้วโรยสารเคมีดังกล่าว และกลบดินให้ทั่วแล้วรดนํ้าให้ชุ่ม  ในแหล่งที่มีโรคนี้
               แพร่ระบาด ควรใช้สารเคมีดังกล่าวสัก 2 ครั้ง คือระยะต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน



               6. โรคผลจุดประ

                        ลักษณะอาการ :

                               โรคนี้มักจะเกิดที่ผลกล้วยที่จะแก่เต็มที่แล้วหรือหลังการเก็บเกี่ยวไปแล้ว ซึ่งอาการ
               โดยทั่วไปจะเกิดเป็นจุดค่อนข้างกลม สีนํ้าตาลไหม้  จุดอาจเชื่อมต่อกันเป็นผืนใหญ่ อาจเกิดเป็นประหรือตก

               กระไปทั้งผล  ระยะแรกจุดจะอ่อนนุ่ม ต่อไปจะเริ่มแข็งขึ้น และบุ๋มลงไป  ภายหลังเนื้อของผลกล้วยก็จะเริ่ม

               ชํ้า ฉํ่านํ้า อาจมีของเหลวไหลออกมาด้วย โรคนี้พบกับผลกล้วยหลายชนิด แต่ที่พบเป็นมากคือกล้วยไข่

               รองลงมาก็กล้วยนํ้าว้า และกล้วยหอม เป็นโรคที่สําคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดเป็นในช่วงหลังการเก็บ
               เกี่ยวจะเสียหายมาก เพราะกําลังจะส่งจําหน่ายออกสู่ตลาดผู้บริโภค
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97