Page 91 -
P. 91

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       85


               3.โรคใบจุดลาย

                        ลักษณะอาการ :

                               อาการปรากฏบนใบในระยะเริ่มแรกเป็นโรค จะเห็นเป็นจุดสีนํ้าตาลขนาดเท่าจุดปลาย

               ดินสอดํา ต่อมาจุดนี้จะขยายใหญ่เท่าหัวเข็มหมุดขนาดใหญ่ เกิดต่อกันไปตามเส้นใบจนกลายเป็นขีดสี
               นํ้าตาลคล้ายสนิมเหล็กขีด  อาจติดต่อกันไปหรืออาจไม่ต่อเนื่องกัน  ขอบของขีดไม่คมชัดเมื่อเป็นโรคมาก

               ขึ้นส่วนที่ถูกทําลายจะเป็นลักษณะเกิดอยู่เป็นกลุ่ม โดยขีดสีนํ้าตาลเกิดติดต่อกัน เรียงซ้อนกันหรือเป็นรอยสี

               นํ้าตาลคล้ายสนิมเหล็ก  เมื่อเป็นรุนแรงทําให้ใบไหม้ ตรงกลางแผลจะแห้งเป็นสีนํ้าตาลอ่อนขอบรอบนอก
               จะเป็นสีเหลืองชัดเจนเมื่อเป็นมากใบจะแห้งตายทั้งต้น

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                                เกิดจากเชื้อรา Cladosporium   musae  โรคระบาดในปลายฤดูฝนและต้นฤดูหนาวที่มี

               ความชุ่มชื้นพอเหมาะ เชื้อราจะแพร่ระบาดโดยมีสปอร์ปลิวไปตามลม ใบล่างๆ จะเป็นโรคขึ้นไปจนถึงใบ
               ยอด

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ใบที่เป็นโรคใบล่างๆ ให้ตัดออกไปเผาไฟทําลายเสีย แล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น แมนโค
               เซบ (ไดเทนเอ็ม-45) 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ทุก 20 วัน สัก 2 ครั้ง



               4. โรคแอนแทรคโนส

                        ลักษณะอาการ :

                               โรคนี้เป็นการเข้าทําลายที่ฐานของหวีกล้วย ทําให้เน่าเป็นสีนํ้าตาลดําลุกลามถึงขั้วและ
               ก้านของผล เกิดไปจนถึงในระหว่างการตัดมาบรรจุหีบห่อและระหว่างการขนส่ง หรือจะกล่าวโดยทั่วไปก็

               เป็นโรคภายหลังเก็บเกี่ยว  เมื่อขั้วผลเกิดเน่าชํ้าเป็นสีนํ้าตาลดําแล้วก็จะลุกลามไปที่ผล เปลือกของผลจะเน่า

               เป็นสีนํ้าตาลดํา ส่วนเนื้อเยื่อภายในของผลเกิดเน่าชํ้าเป็นสีนํ้าตาลเหลืองพบเป็นรุนแรงในกล้วยหอมทอง

               กล้วยไข่ทําให้ได้รับความเสียหายมาก ซึ่งเป็นลักษณะของโรคแอนแทรคโนส เป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ เรียงวนกัน
               อย่างต่อเนื่องบนแผลนั้นมีลักษณะเหมือนก้นหอย

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Colletotrichum  musarum  สปอร์เมื่อแก่เต็มที่ก็จะหลุดออกจากตุ่มนูนเล็ก
               และยังสามารถฟุ้งกระจายแพร่ระบาดเข้าทําลายกล้วยผลอื่น ๆ ได้อีก กล้วยหวีอื่นที่กองอยู่ใกล้เคียงหรือใน

               โรงเรือนที่เก็บกล้วยนั้นอาจเป็นโรคนี้หมดได้
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96