Page 90 -
P. 90

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       84


               สามารถส่งผ่านนํ้าและแร่ธาตุอาหารขึ้นไปได้ จึงเกิดการเหี่ยวเฉาไม่ผลิดอกออกผลในที่สุดใบแห้งไปและ

               ต้นก็ตาย
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum  f.sp.  cubense  เป็นพวกเชื้อราที่อาศัยในดิน

               สปอร์ของเชื้อราอยู่ในดินในแปลงปลูกและที่ตอเหง้า จากกอที่เคยปรากฏอาการเป็นโรค เมื่อมีหน่ออ่อน

               เกิดขึ้นแล้วขุดไปขยายพันธุ์ปลูกก็จะแพร่โรคกระจายออกไปได้อีก  หรือใช้ตัดชิ้นส่วนของเหง้าที่มีตาติดไป
               ขยายพันธุ์ปลูก ก็จะเกิดโรคต่อไปอีกเช่นกัน โรคนี้เมื่อเกิดเป็นที่ใดแล้วก็จะแพร่ระบาดเสียหายอย่างรวดเร็ว

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ควรขุดทําลายเหง้าที่แสดงอาการเป็นโรคออกไปทําลายเสีย แต่ถ้าหากมีความจําเป็นต้อง

               ไว้หน่อก็ควรปรับสภาพดินให้เป็นด่างด้วยปูนขาว แล้วรดโคนกอกล้วยด้วยสารเคมี เช่น บราสสิโคล หรือเอ
               ทาโซล 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือก่อนปลูกอาจแช่พันธุ์หรือชิ้นส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ปลูกในสารเคมีเหล่านี้

               ก่อนนําไปปลูก ย่อมจะช่วยป้องกันโรคเข้าทําลายได้ยิ่งขึ้น


               2.โรคซิกาโทกาเหลือง

                        ลักษณะอาการ :

                               ใบมีลักษณะเป็นขีดสีเหลืองหรือสีเหลืองปนสีนํ้าตาล โดยทั่วไปแผลจะขยายใหญ่มีหัว

               ท้ายมนเหมือนรูปไข่ ขนานไปกับเส้นใยมีขนาด 0.1-2.5 ซม. ขีดสีเหลืองปนสีนํ้าตาลนี้กระจัดกระจายไปทั่ว

               ใบ และแผลขยายออกทางกว้างเกิดเป็นจุดแผลอาจลุกลามติดต่อกันทําให้เกิดอาการใบไหม้ ซึ่งโดยมากจะ
               เกิดด้านริมใบและกระจัดกระจายแพร่ไปจนทั่วใบ เมื่อลักษณะอาการรุนแรง แผลมีสีนํ้าตาลอ่อนขอบแผลสี

               นํ้าตาลเข้มถัดมาเป็นขอบสีเหลืองอยู่โดยรอบเจริญเติบโต มีผลผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด นับว่าเป็นโรคที่

               ร้ายแรงมาก
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา Cercospora  musae (Mycosphaerella  musicola) ระบาดในช่วงฤดูฝนและ

               ต้นฤดูหนาว โดยสปอร์ของเชื้อราจะปลิวไปตามลม  ทําลายใบล่าง ๆ ไล่ขึ้นไปจนถึงใบยอดๆ ทีเจริญเต็มที่
               แล้ว ในบางแห่งพบว่ามีโรคนี้เกิดแพร่ระบาดเสียหายมาก ต้นโทรมไม่ผลิดอกออกผล หรือถ้ามีเครือก็เล็ก

               และมีหวีและผลไม่สมบูรณ์

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ใบล่างๆ ที่เป็นโรคควรตัดออกเผาไฟทําลาย สําหรับต้นกล้วยที่เริ่มเป็นโรคและ
               เจริญเติบโตใกล้ออกเครือ ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ

               ออกซีคาร์บอกซิน 30 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตรและเบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร พ่นทุก ๆ 20 วัน จนถึงระยะผล

               กล้วยใกล้แก่ หรือก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน เพื่อช่วยให้ผลกล้วยเจริญต่อไปได้อย่างปกติ
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95