Page 89 -
P. 89

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       83


                                                          10




                                                       กล้วย






                        กล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจที่คนไทยรู้จักกันดี เพราะใช้เป็นอาหารบริโภค และ ประโยชน์ใช้สอย

               หลายชนิด ประวัติความเป็นมาพบกล้วยในประเทศแถบเอเชียใต้ เช่น อินเดีย  และแพร่พันธุ์ไปทั่วตามหมู่

               เกาะต่างๆ และประทศใกล้เคียง แล้วกระจายไปยังเกาะต่างๆ ในแถบแปซิฟิก และทางฝั่งตะวันตกของอาฟ
               ริกา กล้วยแต่ละพันธุ์มีชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นนั้นๆ อาทิเช่น แถบเอเชีย มีชื่อเป็นภาษาจีน ภาษาสันสกฤต และ

               ภาษามาเลย์ ซึ่งบ่งชัดว่ากล้วยเป็นพืชเก่าแก่ และ ดั้งเดิมของเอเชีย นอกจากนั้นยังมีการแพร่กระจายพันธุ์ไป

               ยังแหล่งอื่นๆ ในคัมภีร์ของพระมะหะหมัด และปี ค.ศ. 1840 ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Koran  ว่ากล้วยถือเป็น
               ต้นไม้บนสวรรค์ Paradise Tree ซึ่งมนุษย์ใช้เป็นอาหารชนิดแรก และใช้บริโภคต่อสืบเนื่องกันมานอกจากนี้

               Pepenoe   ได้กล่าวไว้เมื่อ ค.ศ. 1914 และให้ความยืนยันเช่นกัน และ Reynold ค.ศ. 1929 กล่าวว่ากล้วยเป็น

               พืชชนิดแรกที่ปลูกไว้ใช้เป็นอาหารตามบ้านเรือนทั่วไป กล้วย ที่เราบริโภคอยู่นี้จัดอยู่ใน section Eumusa ซึ่ง
               ถือกําเนิดมาจากกล้วยป่า 2 species คือ Musa acuminata และ M. balbisiana จึงเป็นผลให้กล้วยมีหลายชนิด

               เช่น กล้วยนํ้าว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยนํ้า กล้วยนาก ฯลฯ สําหรับกล้วยต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะมี

               กล้วยไข่ กล้วยนํ้าว้า และกล้วยหอม ที่ทําการปลูกกันเป็นสวนใหญ่ๆ ซึ่งกล้วยไข่ปลูกมากที่จังหวัด

               กําแพงเพชร ตาก เชียราย เพชรบุรี สุโขทัย จันทบุรี ตราด ระยอง  ส่วนกล้วยหอมนั้นโดยทั่วไปมีสองชนิดที่
               นิยมปลูกคือ กล้วยหอมทอง และกล้วยหอมเขียว ซึ่งปลูกมากที่จังหวัดปทุมธานี กรุงเทพฯ เพชรบุรี เชียงราย

               สิงห์บุรี และเลย สําหรับกล้วยนํ้าว้านั้นปลูกกระจัดกระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศ   ปัจจุบันได้มีการ

               ส่งผลผลิตสดทั้งกล้วยหอมและกล้วยไข่ ไปจําหน่ายต่างประเทศ โดยส่งไปจําหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น จีน
               ฮ่องกง ออสเตรเลีย อเมริกา   ขณะนี้ตลาดการส่งออกกําลังขยายเพิ่มขึ้นทั้งผลผลิตสดและแปรรูป   แต่ใน

               การปลูกก็มีปัญหาโรคของกล้วยดังนี้


               1.โรคตายพราย

                        ลักษณะอาการ :

                               อาการที่ปรากฏคือ ใบเหลืองและเกิดลักษณะอาการเหี่ยวเฉาในที่สุด ก้านใบหักพับแนบ

               ลําต้นแล้วแห้งไป ส่วนมากเป็นกับใบล่างๆ ก่อนและถัดชื้นไปเรื่อยๆ จะแห้งจนถึงใบยอดทําให้ผลลีบ เมื่อ

               ตัดลําต้นตามขวางจะเห็นว่าภายในกาบเน่ามีสีนํ้าตาล และเมื่อผ่าดูที่เง่าจะพบว่ามีจุดสีดําหรือสีนํ้าตาลเข้ม

               กระจัดกระจายทั่วไป  เมื่อเป็นรุนแรงส่วนของเหง้าจะเน่ารวมทั้งราก  ท่อนํ้าท่ออาหารถูกทําลายหมด จึงไม่
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94