Page 84 -
P. 84

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       78


               เปลือกจะผุ  เนื้อไม้ยุ่ยและกิ่งแห้งตายไปในที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะเกิดคล้ายรากเทียมที่ใต้ผิวแผ่นเชื้อราที่แนบ

               ติดกับผิวของกิ่ง เข้าดูดกินนํ้าเลี้ยงและทําลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้น
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor ระบาดในฤดูฝนสปอร์ของเชื้อราระบาดไปกับลม

               และนํ้าฝน โดยเฉพาะกิ่งล่างมักจะถูกเชื้อรานี้เข้าทําลายเกิดเป็นโรคอยู่ทั่วไป ทรงพุ่มที่หนาทึบ ย่อมจะช่วย

               ส่งเสริมให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้มากและเร็วขึ้น
                        การป้องกันและกําจัด :

                               ควรตัดแต่งกิ่งเป็นโรคออกไปเผาไฟเสียบ้าง เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคและให้มีการถ่ายเท

               อากาศดีขึ้น แล้วพ่นด้วยสารเคมีตรงส่วนที่เป็นโรคด้วยคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ

               เอดิเฟนฟอส 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร


               4.โรคราดํา

                        ลักษณะอาการ :
                               สีดําของเชื้อราขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก และผิวของผล ทําให้เห็นเป็นคราบสีดําคล้าย

               เขม่า บนใบที่ถูกเคลือบด้วยแผ่นคราบดําของเชื้อรานี้ เมื่อแห้งจะหลุดออกเป็นแผ่นได้ง่าย เชื้อราไม่ได้

               ทําลายพืชโดยตรงแต่ไปลดการปรุงอาหารของใบ อาการที่ปรากฏที่ช่อดอกถ้าเป็นรุนแรงทําให้ดอกร่วงไม่
               สามารถผสมเกสรได้  จึงเป็นเหตุให้ร่วงเพราะถูกเชื้อราดําเข้ามาเคลือบส่วนของเกสรไว้หมด  แต่ดอกที่ร่วง

               นั้นส่วนใหญ่แล้วเกิดจากแมลงเจาะดูดกินนํ้าเลี้ยง จึงทําให้ดอกร่วงไม่ว่าดอกจะได้รับการผสมพันธุ์หรือไม่

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               ลักษณะอาการเช่นนี้ เกิดจากผลของการทําลายของแมลงพวกปากดูด ที่ดูดกินส่วนอ่อน
               ของลําไยแล้วถ่ายนํ้าหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลําไย เชื้อราที่มีอยู่ในอากาศ โดยเฉพาะเชื้อรา

               Capnodium ramosum   Meliola euphoriae จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีนํ้าหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา แล้วมา

               เจริญเป็นคราบสีดํา  แมลงปากดูดเท่าที่พบ เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยจักจั่น และเพลี้ยอ่อน เป็นต้น
                        การป้องกันและกําจัด :

                               ป้องกันกําจัดแมลงพวกปากดูดดังกล่าว โดยพ่นด้วยสารเคมีเช่น คาร์บาริล 40 กรัมต่อนํ้า

               20 ลิตร อาจพ่นควบคู่กับสารป้องกันกําจัดเชื้อราเช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือไซฟลูธริน 40-50 กรัม

               ต่อนํ้า 20 ลิตร


               5.โรคผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยว

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราในอากาศจะเข้าทําลายที่ขั้วหรือบริเวณแผลของผล ทําให้เนื้อเยื่อภายในของผลเน่า
               และฉํ่านํ้า ผิวของผลจะชื้นเหมือนถูกนํ้ามันสีนํ้าตาลคลํ้า แต่ส่วนของผิวเปลือกอาจยังไม่แสดงลักษณะ
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89