Page 83 -
P. 83

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       77


               ผลผลิตอยู่แต่ไม่มาก และปีต่อ ๆ ไปเมื่ออาการของโรคปรากฏรุนแรงขึ้น จะไม่ได้ผลผลิตเลย ลําไยทรุด

               โทรมและค่อย ๆ ตายไปในที่สุด โรคนี้มีแมลงเพลี้ยจักจั่นสีนํ้าตาล (Matsumuratettix hiroglyphicus)  เป็น
               พาหะนําเชื้อโรคไปสู่ตัวอื่น ๆ ได้อีกด้วย

                        การป้องกันและกําจัด :

                               โดยการคัดพันธุ์ปลูกมาจากแหล่งที่ไม่แสดงอาการของโรคเป็นวิธีการที่ดีที่สุด และเมื่อ

               พบว่ามีเพลี้ยจั๊กจั่นแพร่ระบาดในสวน ก็จําเป็นต้องพ่นด้วยสารเคมี เช่น พอส อัตรา 50 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร
               หรือ มิพซินอัตรา 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ทุก 15 วัน สัก 2 ครั้ง ในสวนใกล้เคียงก็ต้องปฏิบัติเช่นกัน สําหรับ

               ต้นที่เป็นโรคนั้นก็ควรที่จะขุดออกไปเผาทําลายเสียด้วย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคอีกต่อไป


               2.โรคจุดสาหร่ายสนิม

                        ลักษณะอาการ :

                               โรคจุดสาหร่ายสนิมส่วนใหญ่แล้วจะเกิดที่ใบ เกิดจุดค่อนข้างกลม มีขนาด 0.5-1 ซม.

               แรกๆ เป็นขุยสีเขียว ต่อมาในระยะเกิดสปอร์จะเป็นสีแดง สีสนิมเหล็ก ผิวมีลักษณะเป็นขุยคล้ายกํามะหยี่

               เป็นที่ใบไม่รุนแรงมากนัก  แต่ความรุนแรงจะปรากฏที่กิ่ง โดยเฉพาะถ้าเป็นมากก็จะทําให้ต้นทรุดโทรม กิ่ง
               ที่ถูกทําลายโดยเกิดเป็นขุยเช่นเดียวกับที่ใบ จะเป็นจุดหรือเกิดต่อเนื่อง เป็นขุยสีสนิมเหล็ก ต่อมาขุยก็จะแห้ง

               หายไป จุดที่ถูกทําลายเปลือกจะแตกและแห้ง  ทําให้ใบเหลืองร่วง แสดงอาการทรุดโทรม ทั้งนี้เป็นเพราะ

               รากเทียมของสาหร่ายเข้าไชชอนในเนื้อเยื่อดูดกินนํ้าเลี้ยงและเซลล์เน่าตาย ทําให้ส่วนนี้แห้งตายไป
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากพืชชั้นตํ่าพวกสาหร่าย Cephaleuros  virescens ทําลายพืชได้หลายชนิด ระบาดใน

               ที่ๆ มีความชุ่มชื้นสูงโดยเฉพาะฤดูฝน การแพร่ระบาดโดยสปอร์จะปลิวไปตามลมแพร่ระบาดต่อไป แต่

               อย่างไรก็ตาม นํ้าก็เป็นพาหะนําสปอร์ไปสู่ต้นอื่นได้เช่นเดียวกัน
                        การป้องกันและกําจัด :

                               โรคนี้ป้องกันกําจัดได้ โดยการพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อรา พวกสารประกอบของ

               ทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร


               3. โรคราสีชมพู

                        ลักษณะอาการ :

                               อาการเกิดที่กิ่ง โดยเฉพาะตรงง่ามของกิ่งหรือลําต้น กิ่งที่เป็นโรคใบจะปรากฏสีเหลืองซีด

               และเมื่อโรครุนแรงอาจทําให้ใบร่วงเหลือแต่กิ่ง บริเวณกิ่งที่ถูกทําลายจะมีคราบของเชื้อราสีขาวอมชมพูแผ่
               ขยายปกคลุมคล้ายทาด้วยสีชมพู เมื่อกิ่งแห้งจะเห็นคราบนี้ชัดขึ้นเป็นสีชมพูหรือสีปูนแห้ง เมื่อผ่าตรวจดู
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88