Page 82 -
P. 82

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       76


                                                           9




                                                        ลําไย






                        ลําไย  (Euphoria  longana)   เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่มีอยู่มากมายหลายพันธุ์ซึ่งส่วนใหญ่จะ

               ปลูกทางภาคเหนือในหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และ

               ภาคตะวันออกที่ จันทบุรี  ลําไยที่นําไปปลูกเหล่านั้นเดิมทีปลูกโดยเพาะเมล็ดและปัจจุบันใช้ กิ่งตอน พันธุ์ดี
               นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์คอยอดแดง  คอยอดเขียว  สีชมพู  เบี้ยวเขียว  แห้วและแดง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ลําไย

               ที่ปลูกทางภาคเหนือในปัจจุบันมีปริมาณมาก เนื่องจากลําไย เป็นพืชเศรษฐ์กิจ ให้ผลผลิตสูง โดยเฉพาะ

               ปัจจุบัน มีการใช้สารเคมีเร่งการออกดอก จึงทวีต้นปริมาณผลผลิตได้มากขึ้น และพันธุ์ลําไยก็ได้มีการพัฒนา
               พันธุ์ จนมีผลรสปกติดีเป็นที่ต้องการของตลาด ฉะนั้นเกษตรกรจึงนิยมปลูกมากทั่วไป นับว่าเป็นพืชที่มี

               บทบาทในการเป็นผลไม้ส่งออก หรือส่งออกในรูปลําไยกระป๋ อง โดยส่งไปจําหน่ายยังประเทศแคนาดา

               ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อเมริกา ออสเตรเลีย และฮ่องกง โดยเฉพาะจังหวัดลําพูน เชียงใหม่ และน่าน ปลูก
               มากที่สุด ขณะนี้เกษตรกรในจังหวัดอื่นเริ่มปลูกกัน แต่เดิมการปลูกลําไยไม่พบปัญหาเรื่องโรคมากนัก

               ปัจจุบันในแหล่งปลูกดังกล่าว เริ่มมีปัญหามากขึ้น มีดังนี้



               1.โรคพุ่มไม้กวาด

                        ลักษณะอาการ :
                               อาการปรากฏที่ส่วนยอดและส่วนที่เป็นตา โดยเริ่มแรกใบยอดแตกใบออกเป็นฝอยมี

               ลักษณะเหมือนพุ่มไม้กวาด ใบมีขนาดเล็กเรียวยาว ใบมีความแข็งกระด้าง ใบมีลักษณะไม่คลี่ออกมาเป็น

               กระจุกปะปนไปกับใบปกติ หากยอดที่เป็นโรคเมื่อถึงคราวออกช่อดอก ถ้าเป็นโรคไม่รุนแรงก็จะออกช่อ

               ชนิดติดใบติดดอกปะปนกันและช่อสั้นๆ ซึ่งอาจติดผลได้ 4-5 ผล ถ้าเป็นโรครุนแรงดอกลําไยที่เกิดขึ้นจะ
               แตกกิ่งเป็นฝอย มีใบชนิดไม่คลี่อยู่มาก หรือโรคนี้อาจเกิดตามกิ่งโดยยอดที่แตกออกมา จะมีลักษณะอาการ

               กิ่งเป็นมัดไม้กวาดเกิดอยู่เป็นกระจุกๆ จึงเรียกว่า โรคพุ่มไม้กวาด ลําไยที่เป็นโรครุนแรงจะไม่ผลิดอกออก

               ผล เป็นผลกระทบกระเทือนต่อการเพิ่มผลผลิตมากที่สุด ซึ่งถ้าเกิดแพร่กระบาดรุนแรงจะมีผลเสียหายมาก

               อย่างเห็นได้ชัด
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               สาเหตุเกิดจากเชื้อมายโคพลาสมา Mycoplasma  แพร่ระบาดได้ทางกรรมพันธุ์  คือ

               สามารถแพร่ระบาดไปโดยการตอน ติดตา ลําไยต้นใดมีเชื้อโรคดังกล่าวอยู่ เมื่อขยายพันธุ์ไปปลูกจะได้ต้น
               ลําไยที่เป็นโรคนี้ได้ โดยมากอาการจะปรากฏเมื่อปลูกลําไยไปได้ 3-4 ปี ลําไย เริ่มเป็นโรคจะยังคงให้
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87