Page 78 -
P. 78
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
72
8
ลิ้นจี่
ลิ้นจี่ (Litchi chinensis) ในประเทศไทยได้นําพันธุ์ลิ้นจี่เข้ามาปลูกไม่น้อยกว่า 200 ปีแล้ว
โดยเฉพาะพันธุ์มาจากประเทศต้นกําเนิดของลิ้นจี่ คือ ประเทศจีนซึ่งได้นํามาปลูกโดยการเพาะเมล็ดที่
กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม และฉะเชิงเทรา นอกจากนี้ มีการปลูกลิ้นจี่พันธุ์เตี้ย เช่น พันธุ์บ้านแพ้ว และให้ผล
ผลิตสูง รสชาติดี เป็นที่นิยมในตลาดมาก ลิ้นจี่ที่ปลูกอยู่ในแถบจังหวัด สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร ซึ่ง
ปัจจุบัน มีคนนิยมนําพันธุ์ไปขยายปลูกกันอย่างแพร่หลายทุกภาค โดยภาคกลางเสียส่วนใหญ่นิยมนําไป
ปลูก ส่วนพันธุ์ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดในประเทศไทยนาน ๆ เข้า นั้นก็เกิดกลายพันธุ์เป็นพันธุ์ไทยไปแล้ว
ส่วนลิ้นจี่ที่ปลูกในแถบจังหวัดภาคเหนือนั้นเป็นพันธุ์นํามาจากประเทศจีนเช่นกัน โดยนํามาในรูปกิ่งตอน
เช่น พันธุ์โอเฮียะ ฮงฮวย กิมเจ็ง จักรพรรดิ กวางเจา เนื่องจากปัจจุบันลิ้นจี่เป็นพืชที่ทํารายได้ให้กับเกษตรกร
ภาคเหนือได้ดีพืชหนึ่งและจากหลักฐานที่ปรากฏนั้นปลูก ลิ้นจี่ที่ได้รสชาติดีต้องเป็นลิ้นจี่ที่ปลูกจาก
ภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจังหวัดเชียงราย และลิ้นจี่อําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งปรากฏว่าทั้งสอง
แหล่งนี้เป็นแหล่งปลูกมีปริมาณส่งออกมาก โดยส่งไปจําหน่ายยังประเทศ แคนาดา คูเวต ซาอุดิอาระเบีย
ญี่ปุ่ น เดนมาร์ก ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ บรูไน เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส มาเลเซีย เยอรมัน สวีเดน สิงคโปร์
สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮ่องกง คาดว่าในอนาคตคงมีปริมาณ
ส่งออกมากยิ่งขึ้น การทําสวนลิ้นจี่ในขณะนี้พบว่ามีโรคเข้าทําลาย คือ
1. โรคราดํา
ลักษณะอาการ :
ผืนหน้าใบมีคราบสีดําเกิดขึ้น คล้ายผิวใบถูกฉาบด้วยเขม่าดํา อาการมีทั้งคราบที่เป็นแผ่น
สีดําติดต่อกันผืนใหญ่ และจุดดํารูปดาวเล็ก ๆ แต่อาการทั้งหมดนี้ เมื่อถูจะหลุดออกได้โดยง่าย นอกจากนี้
อาจเกิดขึ้นบนกิ่งช่อดอกได้เช่นกัน ซึ่งมีผลเสียหายต่อการปรุงอาหารของใบเพราะขาดแสงแดดเข้าถึงผิวสี
เขียวของใบ สําหรับที่ช่อดอกนั้นจะทําให้ติดผลน้อยลงเพราะไม่ได้รับผสมเกสรอย่างทั่วถึง ดอกจะร่วงไป
ก่อนได้รับการผสมพันธุ์
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
สีดําคือเชื้อรา Capnodium ramosum Meliola chinensis ขึ้นปกคลุมในส่วนที่แมลง
ปากดูดพวกเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ทําลายส่วนอ่อนของลิ้นจี่ หรือจากการทําลายของครั่ง แมลงดังกล่าวถ่าย
นํ้าหวานออกมา มีลักษณะเหนียวนํ้ามีรสหวานซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ เชื้อราขึ้น