Page 74 -
P. 74
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
68
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor ระบาดในฤดูฝนที่มีอากาศชุ่มชื้นสูงโรคจะ
ระบาดได้ดีโดยเชื้อราจะสร้างสปอร์แพร่ไปกับลม ต้นที่มีทรงพุ่มที่หนาทึบจะเป็นโรคนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
การป้องกันและกําจัด :
ถ้าพบกิ่งที่เป็นโรคดังกล่าวนี้อย่างรุนแรง ก็ควรตัดออกไปเผาไฟทําลายเสียและพ่นด้วย
สารป้องกันกําจัดเชื้อราอย่างสมํ่าเสมอในฤดูฝน เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ
เอดิเฟนฟอส 30 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร
5. โรคผลเน่า
ลักษณะอาการ :
ลักษณะอาการพบเป็นที่ผลโดยเฉพาะผลอ่อน ซึ่งอยู่ในระยะที่ผลมีขนสีเขียวยังไม่มีเนื้อ
เต็มที่ตลอดไปจนถึงระยะมีเนื้อเต็มใกล้สุก เนื้อของผลเน่าเป็นสีนํ้าตาลระบาดได้รวดเร็วทําให้ผลเงาะร่วง
ไป จุดแผลที่เกิดบนผลมีสีนํ้าตาลคลํ้าเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของผล โรคนี้เมื่อเป็นจะเห็นง่ายที่ส่วนเปลือกของ
ผลเพราะสีจะคลํ้าและฉํ่านํ้า เมื่อผ่าตรวจภายในดูจะเห็นมีลักษณะอาการเน่าเป็นสีนํ้าตาลอ่อน ฉํ่านํ้า
ของเหลวอาจไหลออกมาสู่ภายนอก ผลมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว โรคนี้เมื่อเป็นในระยะผลแก่ก็จะเกิดต่อเนื่อง ติด
ไปกับผลในระยะหลังการเก็บเกี่ยวได้ด้วย
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora nicotianae var. parasitica เชื้อราดังกล่าวทําลายผล
เงาะให้เน่าร่วง และสปอร์ของเชื้อราเกิดอยู่ที่แผลและภายในเนื้อเยื่อของผล ซึ่งสปอร์จะแพร่ระบาดไปกับนํ้า
ไปงอกเข้าทําลายได้อีก หรือการแพร่ระบาดอาจติดไปกับแมลงได้อีกเช่นกัน
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อปรากฏว่ามีโรคเกิดเป็นกับผลเงาะ จําเป็นต้องพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมทาแลคซิล 20
กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือพอเซทธิล อะลูมินั่ม 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร นอกจากนี้ต้องเก็บผลที่เป็นโรคออกไป
เผาไฟทําลายให้หมด หากพบเป็นโรคมากควรควบคุม ทางดินด้วยวิธีทางชีววิธีด้วยเชื้อรา Trichoderma spp.
6. โรคราดํา
ลักษณะอาการ :
ผลเงาะจะมีสีดําขึ้นปกคลุมผิว ทําให้มีลักษณะเหมือนถูกฉาบไว้ด้วยเขม่าควันไฟสกปรก
เช่นเดียวกับโรคราดําที่เป็นกับผลทุเรียน ผลเงาะที่ถูกทําลายจะมีราดําขึ้นปกคลุมภายหลังที่มีการทําลายของ
แมลงพวกปากดูด เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ที่อาศัยตามขั้วผลและซอกขน คราบสีดํานั้นคือ เชื้อรา
Capnodium ramosum ทําให้ผิวเงาะไม่สวยงามเพราะมีเชื้อราสีดําขึ้นปกคลุม แต่ก็หลุดออกได้ง่าย ทั้งนี้เชื้อ