Page 79 -
P. 79

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       73


               เจริญเติบโตจึงเห็นเป็นคราบสีดํา เมื่อถึงฤดูแล้งคราบสีดํานี้จะหลุดไปเอง โดยธรรมชาติ แต่แมลงพวกปาก

               ดูดดังกล่าวจะทําให้ดอกร่วงหล่นไป  ทําให้ผลผลิตลดลงมาก  ฉะนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้แมลงจึงเป็นตัวสําคัญที่
               ทําความเสียหายมาก

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ควรป้องกันกําจัดแมลงพวกปากดูด โดยพ่นสารฆ่าแมลงดังกล่าวเหล่านั้น เช่น คาร์บาริล

               40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร และควบคู่ด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น ไซฟลูธริน 40 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร


               2. โรคผลเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               โรคนี้จะเกิดในระยะหลังการเก็บเกี่ยวผลไปแล้ว เชื้อราสาเหตุของโรคจะเข้าทําลายผล

               ผิวเปลือกผลจะเป็นสีนํ้าตาลดํา มักจะเกิดขึ้นเพียงด้านใดด้านหนึ่งของผลก่อน แล้วจะลุกลามเป็นไปทั่วทั้ง
               ผล  ทําให้ผิวเกิดมีลักษณะอาการดังกล่าว โดยทั่วไปมักจะมีของเหลวไหลออกมาอยู่บนเปลือกของผลนั้น

               เมื่อปอกเปลือกของผลออกดูเนื้อเยื่อภายใน จะพบว่าเนื้อเยื่อของผลเปลี่ยนจากใสมาเป็นลักษณะขุ่นเหมือน

               กระจกฝ้าอ่อนนุ่ม ฉํ่านํ้า มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว แพร่ระบาดลุกลามอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทําให้ผลอื่น ๆ ที่อยู่
               ใกล้เคียงเป็นโรคมีลักษณะอาการดังกล่าวอีก นับว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงและเกิดผลเสียหายมาก

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Penicilium  expansum   Aspergilus  niger   Rhizopus  nigricans  สปอร์

               ของเชื้อราเหล่านี้จะปลิวฟุ้งกระจายไปทั่วแล้วเข้าทําลายผลอื่น ๆ ต่อไป เมื่อได้รับความชื้นและอุณหภูมิ
               พอเหมาะ

                        การป้องกันและกําจัด :

                               หลังการเก็บเกี่ยวผลมาแล้ว ควรพ่นด้วยสารเคมีทันที เช่น ไลโซล 5 เปอร์เซ็นต์ ผึ่งให้
               แห้งก่อนที่จะเก็บในยุ้งฉาง หรือเรือนโรงเก็บเกี่ยวที่รอการขนส่งไปจําหน่ายต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อ

               การส่งออกซึ่งอาจจะใช้คาร์เบนดาซิม 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร พ่นแทนก็ได้


               3. โรคพุ่มไม้กวาด


                        ลักษณะอาการ :
                               ใบของลิ้นจี่ที่เจริญงอกออกมาจะมีขนาดเล็กเป็นเส้นยาว มีสีเขียวปนนํ้าตาลและออกมา

               เป็นกลุ่มหรือเป็นกระจุก ทําให้มีลักษณะเหมือนรูปไม้กวาดจึงได้เรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า โรคพุ่มไม้กวาด

               กลุ่มของใบหรือยอดที่เจริญออกมานั้น จะไม่สามารถเจริญมีใบใหญ่ขนาดปกติได้ บางครั้งช่อดอกที่เจริญ
               ออกมา ก็จะมีดอกเกิดเป็นกลุ่มไม่ขยายหรือคลี่ออกดอกจะบานบ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย ในที่สุดดอกก็ร่วง
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84