Page 81 -
P. 81
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
75
อยู่ 3-4 ผลเท่านั้น เพราะผลที่เป็นโรคนี้ ไม่อาจเจริญต่อไปได้เช่นปกติ แต่มักเป็นลักษณะเหมือนแซ่ม้า
รวมกลุ่มกันเป็นพวง
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคนี้พบว่าเป็นกับพันธุ์ค่อมที่ ต.คลองกุ่ม อ.บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และที่
จังหวัดเพชรบูรณ์ นครพนม เป็นข้อบกพร่องจากการผสมเกสรกล่าวคือ ไม่มีการผสมเกสรแต่รังไข่ของเกสร
ตัวเมียจะเจริญขึ้นมาเป็นผลเองไม่สมบูรณ์ ลิ้นจี่ที่ออกช่อดอกรุ่นแรก ๆ จะเกิดอาการดังกล่าวมาก และถ้าใบ
ร่วงในระยะที่ดอกบานหรือพร้อมทั้งมีฝนตกก็พบลิ้นจี่เกิดเป็นโรคชนิดนี้ได้ โรคนี้อาจจะเกิดจากเหตุอื่นที่
ไปทําให้เกสรตัวผู้ไร้สภาพการผสมพันธุ์ อาทิเช่น มีเชื้อราเข้าทําลายในระยะติดดอก เป็นต้นฉะนั้น ถ้ามีเกิด
แพร่ระบาดมากเมื่อใดย่อมเกิดผลเสียหายมาก เพราะดอกที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะร่วงหล่นไปเป็นจํานวน
มากเช่น บางปีมีดอกออกเต็มไปหมด แต่กลับติดผลน้อยมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอับเกสรตัวผู้ไม่บานในช่วง
ที่รังไข่พร้อมที่จะรับการผสมพันธุ์หรือปริมาณเกสรน้อยเกินไป
การป้องกันและกําจัด :
การปลูกลิ้นจี่พันธุ์ในสวนเพียงพันธุ์เดียว โอกาสพบลิ้นจี่เป็นโรคขี้ครอก ได้จึงควรมีการ
ปลูกลิ้นจี่พันธุ์อื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อใช้เป็นแหล่งในการเพิ่มปริมาณเกสรให้มากยิ่งขึ้นตามที่กล่าวไว้แล้ว
ในหัวข้อสาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด นอกจากนั้นเกสรตัวเมียและตัวผู้มีความสามารถในการผสม
พันธุ์ไม่พร้อมกัน ฉะนั้นจึงต้องปลูกพันธุ์อื่นแทรกไว้บ้างเพื่อใช้ผสมข้ามกันซึ่งเป็นระยะที่เกสรตัวผู้และตัว
เมียมีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์กันพอดี ก็จะทําให้เกิดการติดผลมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามความชื้นในบริเวณ
ปลูกนั้นจะต้องมีมากพอ ไม่ถึงกับอยู่ในขั้นแห้งแล้งที่จะมีผลเสียหายต่อการมีชีวิตของละอองเกสรทั้งก่อน
และขณะผสมพันธุ์ ฉะนั้นในขณะดอกตูมก็ควรพ่นนํ้าให้ความชุ่มทั่วพุ่ม โดยเฉพาะช่อดอกและให้บริเวณ
สวนมีความชุ่มชื้นมากยิ่งขึ้น ในระยะช่วงนี้ควรพ่นนํ้าให้ความชื้นสักอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ก็จะมีส่วนช่วยให้
เพิ่มเกสรตัวผู้มากยิ่งขึ้น ส่วนการใช้สารป้องกันกําจัดเชื้อรา ให้ใช้สารเคมีที่เป็นสารประกอบของกํามะถัน
เช่น คาราเทน เคลเทน อาราเทน เข้มข้น 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร พ่นสารเคมีนี้ในตอนบ่าย 15.00 น. ขึ้นไป
ดอกจะไม่ร่วงหล่น