Page 80 -
P. 80

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       74


               หล่นไปเหลือแต่ก้านดอกและแห้งตายไป ต้นที่เป็นโรคจะมีการผลิดอกออกผลน้อยช่อหนึ่งอาจมีผลเพียง 3-

               4 ผล เท่านั้น จึงเป็นผลเสียหายต่อผลผลิตมาก
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               โรคนี้เกิดจากเชื้อมายโคพลาสมา ( Mycoplasma)   สามารถถ่ายทอดไปโดยการทาบกิ่ง

               หรือเมล็ด นอกจากนี้ยังมีแมลงพวกเพลี้ยจักจั่นสีนํ้าตาล  (Matsumuratettix  hiroglyphicus)  ช่วยในการเป็น

               พาหะนํ้าเชื้อมายโคพลาสมาไปถ่ายทอดแพร่ระบาดต่อไปได้อีก
                        การป้องกันและกําจัด :

                               ต้นที่เป็นโรคนี้ควรทําลายเสีย และอย่าใช้กิ่งจากต้นที่เป็นโรคไปขยายพันธุ์รวมทั้งใช้

               เมล็ดเพาะเป็นต้นตอเพื่อใช้ทาบกิ่ง นอกจากนี้ถ้าพบแมลงดังกล่าวก็ต้องพ่นด้วยสารเคมีให้ทั่ว เช่น ใช้มาลา

               ไธออน 20 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร


               4. โรคใบจุด

                        ลักษณะอาการ :

                               โดยทั่วไปแล้วเชื้อราสาเหตุของโรคจะเข้าทําลายที่ใบเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นจุด

               ต่างๆ  เมื่อเกิดจุดขยายใหญ่เป็นแผลก็จะแห้งสีนํ้าตาลดํา บนพื้นแผลอาจมีตุ่มนูน ซึ่งฝังอยู่บนพื้นแผลกระจัด
               กระจายอยู่ทั่วไป หรือเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ เกิดเป็นวงขนานกับขอบแผล เพราะบางแผลจะเกิดขอบแผล

               เกิดซ้อนกันเป็นวงคล้ายวงปีของเนื้อไม้  นอกจากนี้เชื้อรายังเข้าทําลายผลและก้านผลตั้งแต่ระยะผลเจริญใน

               ระยะแรกหรือยังอ่อนอยู่กระทั่งถึงระยะผลเจริญเติบโตเต็มที่  ถ้าเกิดในระยะอ่อนอยู่ผลจะร่วงหล่นไป แต่ถ้า
               ระยะผลใหญ่ก็จะเกิดอาการผลเน่าต่อเนื่องมาจนถึงระยะหลังการเก็บเกี่ยวผล 1 อาทิตย์ ซึ่งผลที่ถูกเชื้อนี้เข้า

               ทําลายก็จะเน่าไปหมด

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
                               เกิดจากเชื้อรา  Pestalotia  pauciseta   Botryodiplodia  theobromae   Colletotrichum

               gloeosporioides  (Glomerella  cingulata)  นํ้าและลมเป็นพาหะที่สําคัญในการแพร่ระบาดของโรค

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ในระยะติดผลและเมื่อผลมีขนาดใหญ่แล้วควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อ
               นํ้า 20 ลิตร โดยเฉพาะหลังที่เก็บเกี่ยวผลทันทีหรือก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลเพียง 2-3 วัน ก็จะได้ผลดี



               5. โรคลิ้นจี่ขี้ครอก

                        ลักษณะอาการ :

                               ผลลิ้นจี่มีขนาดเล็กกว่าปกติมาก ภายในมีเนื้อน้อยมากแต่ไม่มีเมล็ด รับประทานได้แต่มี
               เนื้อน้อย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0-1.5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มี 10-20 ผล ในช่อหนึ่งอาจมีผลปกติปะปน
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85