Page 86 -
P. 86

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       80


               7. โรคผลลายผลแตก และผลร่วง

                               ลักษณะอาการ :
                                            พบอาการจุดสีนํ้าตาลบนผลกระจายทั่วทั้งผล อาการผลแตกจากโรคลาย และอาการผล

               ร่วงหล่นเสียหาย

                               สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด:

                                             เกิดจากเชื้อราที่มีเส้นใยคล้ายเชื้อ Rhizoctonia solani จะเข้าทําลายผลลําไยตั้งแต่ผลมี
               ขนาด 1.5 เซนติเมตร จนกระทั่งลําไยใกล้สุกแก่ โรคแพร่ระบาดรุนแรงในฤดูฝน เพราะมีความชื้นสูง  ลําไย

               ที่แสดงอาการผลลาย เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล เมื่อเนื้อในผลขยายตัว ทําให้เนื้อเยื่อผิวของผลปริแตกได้

               นอกจากนั้นบริเวณขั้วผลอาจถูกทําลายด้วยเช่นกัน ทําให้เกิดผลร่วง การแพร่ระบาดโรคนี้มักพบในฤดูฝน

               เชื้อราสาเหตุไม่สร้างสปอร์ ดังนั้นการแพร่ระบาดน่าจะเกิดจากเส้นใยเชื้อราถูกลมพัดพาไป
                               การป้องกันและกําจัด :

                                            ในฤดูฝน หรือช่วงที่มีความชื้น หากเริ่มพบอาการดังกล่าว ควรใช้สารกําจัดเชื้อราฉีดพ่น

               สารที่แนะนําได้แก่  เบโนมิล 50% คาเบนดาซิม 50 %WP  10 กรัม/นํ้า 20 ลิตร โปรซิมิโดน  50%WPอัตราที่

               ใช้ 10 กรัม/นํ้า 20 ลิตร หรือทีบูโคนาโซล25%EW อัตราที่ใช้ 20 มิลลิลิตร/นํ้า 20 ลิตร
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91