Page 71 -
P. 71
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
65
7
เงาะ
เงาะ (Nephelium lappaceum) เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ผลมีขน เมื่อสุกผิวสีแดง มีขนสีเหลือง แดง
เขียว ตามพันธุ์ ปัจจุบันได้คัดเลือกพันธุ์ คือ เงาะพันธ์โรงเรียน ซึ่งพื้นผิวของผลจะเป็นสีแดง ส่วนขน
โดยรอบผลนั้นจะเป็นสีเขียว เนื้อแห้ง กรอบ ไม่ติดเมล็ด หรือเมล็ดร่อนนั่นเอง ซึ่งเป็นที่นิยมบริโภคทั้งชาว
ไทยและต่างประเทศมาก ผลเงาะนอกจากจะใช้รับประทานสดแล้ว ยังใช้ทําผลิตภัณฑ์แปรรูป เป็นอาหาร
กระป๋ อง แหล่งปลูกเงาะที่สําคัญ ๆ ทางภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี ระยอง ตราด ชลบุรี นครนายก
ปราจีนบุรี ตลอดจนภาคใต้ประเทศ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ยะลา ปัตตานี ในภาคอื่นๆ
ก็มีผู้นําเงาะไปปลูก ซึ่งก็ขึ้นได้ดีเช่น ที่จังหวัดพิษณุโลก เชียงราย และนครพนม เงาะที่นิยมปลูกกันมีอยู่
หลายพันธุ์ เช่น สีชมพู โรงเรียน ปีนัง เจ๊ะมง ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกเงาะโรงเรียนเพื่อการ
ส่งออกมากว่าพันธุ์อื่นๆ โดยส่งไปจําหน่ายยังประทศกาตาร์ คานาดา คูเวต บาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย
เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม โปแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ อเมริกา
ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ปัจจุบันประเทศแถบยุโรปนิยมบริโภคเงาะพันธุ์สีทอง ซึ่งประเทศ
ไทยกําลังเร่งส่งเสริมปลูกเพื่อการส่งออกอยู่ สําหรับปัญหาเรื่องโรคที่เกิดเป็นกับเงาะพบโรคต่าง ๆ มีดังนี้
1. โรคราแป้ง
ลักษณะอาการ :
มีอาการรุนแรงและความเสียหายเกิดขึ้นที่ผลเท่านั้น โดยเริ่มตั้งแต่เงาะติดผลเล็ก ๆ ขนาด
เท่าหัวเข็มหมุด ซึ่งจะปรากฏผงสีขาว ๆ ซึ่งเป็นสปอร์และเส้นใยของเชื้อราติดอยู่คล้ายกับโรยด้วยแป้ง ผล
เงาะถ้าเป็นโรคในระยะนี้จะร่วง ส่วนผลโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 ซม. เมื่อเป็นโรคจะเห็นผงขาว ๆ
ติดอยู่ตามขนและซอกขน ความรุนแรงของโรคนี้จะทําอันตรายให้ขนกุดสั้นหรือขนเกรียน ซึ่งอาจเรียกว่า
เงาะเกรียน ตามชาวบ้านเรียกกันก็ได้ ระยะนี้ผลเงาะยังเจริญเติบโตได้ ผลยังคงมีเนื้อเหมือนปกติ แต่มีสีผิว
และขนไม่สวยเพราะขนอาจด่างสีนํ้าตาลสลับสีขนนั้นทําให้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาจึงลดลงไป
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Oidium nephelii มีสปอร์แพร่ระบาดไปตามลมโดยสปอร์ผงสีขาวของ
เชื้อราจะเกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก ฟุ้งกระจายไปงอกเข้าทําลายดอกและผลอ่อนเกิดความเสียหาย ถ้าผลโต
เต็มที่แล้วจะเสียหายน้อยลง และหยุดการทําลายในระยะเก็บเกี่ยว แต่ก็ทิ้งร่องรอยการทําลายคือขนกุดหรือ
สั้น ผิวกร้านไว้ซึ่งไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป