Page 67 -
P. 67
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
61
การป้องกันและกําจัด :
ตัดกิ่งที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทําลายเสีย แล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอ
ไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ เอดิเฟนฟอส 30 ซีซี. ต่อนํ้า 20 ลิตร
5. โรคใบติด
ลักษณะอาการ :
ลักษณะอาการปรากฏที่ใบเท่านั้น เริ่มแรกใบตามกิ่งโดยเฉพาะด้านข้างทรงพุ่มของต้นมี
รอยชํ้าคล้าย ๆ ถูกนํ้าร้อนลวก มีขอบเขตและลักษณะแผลไม่แน่นอน ลักษณะอาการอาจเริ่มที่ปลายใบ กลาง
ใบหรือโคนใบและลุกลามจนเป็นทั้งใบและลุกลามไปใบต่อใบติดเป็นแผงประสานกันเป็นบริเวณกว้าง เกิด
เป็นทั้งกิ่งหรือซีกใดซีกหนึ่งหรือหลาย ๆ ซีกของพุ่ม ใบที่เป็นโรค มักจะร่วงในระยะที่พบเส้นใยของเชื้อ
ราสีขาวบนใบ โดยจะเกิดร่วงจากใบหนึ่งไปตกยังอีกใบหนึ่ง ทําให้เกิดโรคใบต่อใบมาประสานกันด้วยเส้น
ใยอย่างเห็นได้ชัด แต่ถ้าอุณหภูมิและความชื้นไม่เหมาะสมก็จะไม่เห็นเส้นใยอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะใบที่ยัง
สดอยู่จะเห็นว่ามาเชื่อมติดกันอาจมีจํานวนเพียง 2 ใบหรือมากกว่านั้น ทําให้เกิดเป็นแผง ๆ ที่เกิดติดต่อกัน
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani โดยปกติเชื้อราอาศัยอยู่ในดินในเศษซากพืชและใน
ฤดูฝนที่มีฝนตกชุกจะพบการระบาดของโรคนี้ เส้นใยของเชื้อราจะปลิวไปหรือติดไปกับแมลง ทําให้เกิดการ
แพร่ระบาดขึ้น
การป้องกันและกําจัด :
ใบที่ร่วงหล่นที่เป็นโรคนี้ก็นําไปเผาไฟทําลาย สําหรับบนต้นนั้นต้องพ่นด้วยสารเคมี
ป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือบราสสิโคล 48 กรัมต่อนํ้า 20
ลิตร นอกจากนี้ใบที่แสดงลักษณะอาการอยู่บนต้น ก็ควรตัดออกมาเผาไฟทําลายเพื่อให้เชื้อหมดไป
6. โรคจุดสาหร่ายสนิม
ลักษณะอาการ :
โรคนี้จะเข้าทําลายใบกิ่ง สําหรับที่ใบจะปรากฏเป็นจุดหรือดวงสีเทาอ่อนปนเขียวมีผิว
เป็นขนละเอียดเหมือนกํามะหยี่ ขนาด 0.3-1 ซม. และเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีแสดคล้ายสีสนิมเหล็กเป็นขุย
คล้ายกํามะหยี่ในระยะเกิดสปอร์ ส่วนด้านใต้ใบจะไม่พบการทําลาย และส่วนที่ถูกทําลายมากมักจะเป็นส่วน
ที่ได้รับแสงแดด เชื้อนี้จะขึ้นปรากฏเห็นเป็นขุยกํามะหยี่สนิมเหล็ก การทําลายโดยสร้างรากเทียมไชชอนเข้า
ไปทําให้เปลือกบริเวณถูกทําลายตายเปลือกแตก เป็นเพราะรากเทียมของสาหร่ายไชชอนเข้าไปทําลาย
เนื้อเยื่อ ดูดนํ้าเลี้ยงแร่ธาตุอาหารจากส่วนนั้น