Page 65 -
P. 65

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       59


               ความชุ่มชื้นสูง ซึ่งภูมิอากาศดังกล่าวนั้นก็เป็นแหล่งปลูกทุเรียนได้ดีอยู่แล้วจึงเป็นสภาพที่พร้อมที่จะให้เชื้อ

               รางอกเข้าทําลายตามบริเวณโคนลําต้น กิ่ง ราก โดยสปอร์สามารถแพร่ระบาดไปกับนํ้าและงอกเข้าทําลาย
               ต้นอื่นให้เกิดโรคได้อีก นอกจากนี้ในบางครั้งลมและแมลงเป็นพาหะนําเชื้อโรคได้อีกเหมือนกันด้วย

                        การป้องกันและกําจัด :

                               เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคอยู่ในดิน รากและเปลือกที่ถูกทําลายเหล่านั้นจะสังเกตได้ยาก

               โดยเฉพาะเป็นที่รากถ้าหากพบเป็นที่โคนต้นเริ่มเป็น ให้ถากส่วนที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทําลายให้หมดและ
               บริเวณแผลของส่วนที่เน่าต้องทาด้วยสารเคมี เช่น เมตาแลกซิล 100 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตร หรือฟอเซทธิล อะลู

               มินั่ม 150 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตรให้ทั่ว


               2. โรคผลเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               ผลทุเรียนจะเกิดจุดเล็ก ๆ สีนํ้าตาล ฉํ่านํ้า บนผิวผลทุเรียนโดยเฉพาะตําแหน่งที่พบเป็น

               โรคคือที่ปลายผลด้านข้างแผลจะมี 1 หรือ 2 แผลหรือมากว่า จุดแผลจะขยายลุกลามเป็นแผลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

               มีสีนํ้าตาลเข้มหรือนํ้าตาลดํา  ถ้าโรคเกิดที่ส่วนปลายผล ผลก็อาจแตกออกตรงตําแหน่งดังกล่าวเมื่อผ่าตรวจดู
               ภายในผล จะพบว่าเนื้อเยื่อโดยรอบของเปลือกจะเน่าชํ้าสีนํ้าตาล ส่วนที่พูเนื้อหุ้มเมล็ดนั้นจะเน่าเละสีเหลือง

               ปนนํ้าตาล แล้วจะลุกลามเป็นหมดทุกพู มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว โรคนี้จะเกิดต่อเนื่องไปจนถึงระยะหลังการเก็บ

               เกี่ยว
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora   palmivora  เป็นเชื้อราชนิดเดียวกับที่ทําลายทําให้เกิดโรค

               ที่รากและโคนเน่าของทุเรียนแพร่ระบาดในฤดูทุเรียนออกผล โดยเฉพาะในระยะผลก่อนสุกประมาณ 1

               เดือนเศษ ในส่วนเปลือกและเนื้อของพูของผลที่ถูกทําลายจะมีเชื้อราดังกล่าว ซึ่งจะเป็นแหล่งกระจายของ
               เชื้อราในการแพร่ระบาดต่อ ๆ ไปได้เป็นอย่างดี เชื้อโรคนี้สามารถเข้าทําลายใบกิ่ง  และลําต้นได้อีกด้วย จึง

               เป็นโรคที่ทําความเสียหายมาก

                        การป้องกันและกําจัด :
                               ผลที่เป็นโรคต้องรีบตัดออก และหากพบผลเป็นโรคเน่าหลุดร่วงอยู่บริเวณโคนต้นก็ให้

               เก็บรวบรวมและเผาไฟทําลาย  ในแหล่งที่มีการระบาดรุนแรงเสมอ ๆ ต้องใช้สารป้องกันกําจัดเชื้อรา พ่นใน

               ระยะผลเริ่มจะแก่หรือ 1 เดือน ก่อนเก็บเกี่ยว เช่น เมตาแลคซิล 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือฟอเซ

               ทธิลอะลูมินั่ม 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ทุกเดือนจะเก็บเกี่ยวผลได้ ถึงแม้จะลําบากและยุ่งยากต่อการปฏิบัติแต่ก็
               ควรทําเพราะได้ผลคุ้มค่า
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70