Page 60 -
P. 60
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
54
ยุ่ย เป็นสีนํ้าตาลเข้ม สําหรับเนื้อเยื่อภายในส่วนที่เป็นเนื้อไม้ก็จะถูกเชื้อราเข้าทําลาย รวมทั้งท่อนํ้าท่ออาหาร
เป็นสีนํ้าตาลเข้ม สําหรับเนื้อเยื่อภายในส่วนที่เป็นเนื้อไม้ก็จะถูกเชื้อราเข้าทําลาย รวมทั้งท่อนํ้าท่ออาหาร
เป็นสีนํ้าตาลอ่อน และเน่าผุ ไปส่วนที่เกิดผลแผลดังกล่าวอาจมีก้อนของเชื้อราขนาดเท่าหัวเข็มหมุด เจริญ
ปกคลุมอยู่พร้อมทั้งเส้นใยของเชื้อราสีนํ้าตาล หรือสีขาวนวล นอกจากนี้ยังมีตุ่มนูนขนาดเท่าหัวเข็มหมุด สี
นํ้าตาล ซึ่งภายในมีสปอร์เกิดอยู่เป็นจํานวนมาก เกิดเจริญปะปนฝังอยู่บนแผลนั้น โรคนี้สามารถเกิดเป็นกับ
ผิวของลําต้นที่อยู่ใกล้ ๆ กับผิวดินได้อีก แต่จะเกิดเป็นแผลรูปไข่ หรือเป็นทางยาว สีนํ้าตาล ขอบแผลแข็ง
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia bataticola ซึ่งจะผลิตก้อนของเส้นใยและในรูป pycnidium
ซึ่งเป็นเชื้อรา Macrophomina phaseoli จะผลิตตุ่มนูนภายในมีสปอร์เป็นจํานวนมากนํ้าเป็นพาหะนําเชื้อ
โรคที่สําคัญในการแพร่ระบาด
การป้องกันและกําจัด :
ควรราดโคนต้นด้วยสารเคมี เช่น พีซีเอ็นบี 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่ว ถ้าหากถากส่วน
ที่เป็นโรคออกก่อน ก็จะช่วยทําให้ประสิทธิภาพของสารเคมีได้มากยิ่งขึ้นส่วนที่ถากออกนั้นนําไปเผาไฟ
ทําลายเสีย
9. โรคแอนแทรคโนส
ลักษณะอาการ :
สปอร์ของเชื้อราจะปลิวไปตกบนใบ และเข้าทําลายเนื้อเยื่อของใบ ให้เกิดเป็นจุดสีนํ้าตาล
ดําหรือสีนํ้าตาลเข้ม จุดจะขยายใหญ่ รูปร่างค่อนข้างกลม แผลจะมีลักษณะค่อนข้างแข็ง สีนํ้าตาลเทา หรือสี
เทาเข้ม ขอบริมแผลสีนํ้าตาลเข้ม ส่วนใหญ่แล้วแผลเกิดเป็นวงซ้อนกัน คล้าย วงปีของเนื้อไม้และมีตุ่มนูน
ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเกิดเรียงกันค่อนข้างเป็นระเบียบ แต่มักจะเกิดเรียงกันไปตามวงของแผลที่เกิดซ้อนกัน
นั้น โรคนี้ยังเกิดเป็นกับผลโดยเฉพาะผลที่แก่ซึ่งอยู่ในระยะเก็บเกี่ยวผิวของเปลือกของผลเป็นแผลมีลักษณะ
ดังกล่าวและพื้นแผลจะบุ๋มลงไป บางครั้งโรคจะเข้าทําลายไปจนถึงเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ด เกิดเน่าเป็นสีนํ้าตาล
และโรคนี้มักจะเกิดต่อเนื่องไปจนระยะหลังการเก็บเกี่ยวซึ่งนับว่าเกิดผลเสียหายต่อผลผลิต
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum mangostanae เมื่อสปอร์แก่จะแตกออกจากตุ่มนูน
ดังกล่าว แล้วปลิวแพร่ระบาดไปกับลม
การป้องกันและกําจัด :
ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร โดยเฉพาะก่อนเก็บเกี่ยวผล 1
เดือน หรือจะใช้ คาร์เบนตาซิม 15 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร แทนก็ได้