Page 58 -
P. 58

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       52


               5. โรคเนื้อแก้ว

                        ลักษณะอาการ :

                               ผลมังคุดที่เจริญเต็มที่แล้วหรือสุก เมื่อดูภายนอกก็ไม่อาจจะบอกได้ว่าผลใดเป็นโรคเนื้อ

               แก้วอยู่ภายใน นอกจากจะผ่าออกมาดู ในบางครั้งเท่านั้นจะพบว่ามีบางเมล็ดเป็นเนื้อแก้วหรืออาจเป็นหมด
               ทั้งผล คือมีลักษณะคล้ายแก้วส่วนที่เป็นเมล็ดจะไม่เจริญเติบโต ตามปกติมีขนาดเล็กไม่แข็งมาก สามารถใช้

               ฟันกัดหรือมีดตัดออกโดยง่าย เนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดไม่อ่อนนุ่มแต่จะเป็นไตแข็งเมื่อกัดจะขาดออกโดยง่าย มี

               ลักษณะใสค่อนข้างโปร่งแสง ส่วนมากแคะยากเพราะด้านทางขั้วจะติดแน่นหรือบางส่วนติดอยู่กับส่วนที่
               เป็นเปลือกของผล เมล็ดที่เป็นเนื้อแก้วจะมีความหวานน้อย ซึ่งบางคนชอบบริโภค ถ้าหากจะสังเกตขนาด

               ของผลแล้ว ผลที่มีขนาดเล็กกว่าปกติ มักจะเกิดเป็นโรคเนื้อแก้ว ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าผลไม่สมบูรณ์

               โดยทั่วไปตลาดไม่ต้องการผลมังคุดที่เป็นโรคเนื้อแก้ว
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากการที่เมล็ดนั้นไม่สามารถเจริญตามปกติได้ อาจเกิดจาการเจริญของรังไข่ โดย

               ไม่ได้รับการผสมเกสรหรือเกิดจากสภาพแวดล้อมอุณหภูมิ ความชื้นไม่เหมาะสมและความไม่สมดุลย์ของ

               แร่ธาตุอาหารในดินโดยเฉพาะเรื่องการให้นํ้าไม่สมํ่าเสมอหรือขาดนํ้า เมื่อมีฝนตกชุกลงมาก็จะทําให้เกิด
               ลักษณะอาการเนื้อแก้วมากยิ่งขึ้น

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ก่อนอื่นจะต้องทําการให้ปุ๋ ยอินทรียวัตถุและปุ๋ ยวิทยาศาสตร์ ทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุ

               อาหารรอง เพื่อให้พืชได้รับธาตุอาหารครบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะใกล้ออกดอกและผลติดแล้ว พร้อมทั้ง
               ให้นํ้าอย่างสมํ่าเสมอจนถึงระยะการเก็บเกี่ยว ในสภาพที่อากาศแห้งแล้งจําเป็นต้องเพิ่มการให้นํ้าด้วยการพ่น

               ให้ทั่วพุ่มบ้างเป็นครั้งคราว


               6. โรครากปม

                        ลักษณะอาการ :

                               ไส้เดือนฝอยรากปมเจริญอยู่ในดินที่มีความชื้นภายใต้พุ่มและเข้าทําลายรากที่อยู่ในระดับ

               ผิวดิน ประมาณลึกไม่เกิน 6 นิ้วเป็นส่วนใหญ่ โดยไส้เดือนฝอยไชชอนเข้าไปในรากฝอยในขณะเดียวกันก็

               ปล่อยนํ้าย่อยออกมา ซึ่งนํ้าย่อยดังกล่าวนี้เป็นสารเร่งความเจริญของเซลล์เนื้อเยื่อของราก ทําให้เซลล์เกิดการ
               แบ่งตัวออกเป็นจํานวนมาก และในขณะเดียวกันบางเซลล์ก็ขยายมีขนาดโตขึ้นกว่าปกติหลายเท่า อันเป็นผล

               ให้รากตรงส่วนนั้นมีลักษณะบวมโตมีขนาดใหญ่เป็นปม จํานวนปมของรากเกิดมากน้อยขึ้นกับจํานวน

               ไส้เดือนฝอยเข้าทําลาย เมื่อผ่าปมดูจะพบตัวไส้เดือนฝอยเพศเมียขนาดเท่าปลายเข็มหมุด รูปคล้ายถุง หรือ
               หยดนํ้าใส สะท้อนแสง ฝังตัวอยู่ในส่วนนั้น และอาจมีกลุ่มของไข่อยู่บริเวณแผลนั้น โรคนี้ทําให้รากส่วน

               นั้นหมดสภาพดูดนํ้าและแร่ธาตุอาหารเป็นผลกระทบกระเทือนต่อความเจริญและการผลิดอกออกผลมาก
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63