Page 57 -
P. 57
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
51
บรรจุหีบห่อไปจําหน่าย โดยเชื้อราสาเหตุของโรคจะเข้าทําลายที่ผิวของผลทําให้เกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลเข้ม
และจุดจะขยายเป็นแผลใหญ่ อาจมีลักษณะรูปร่าง กลม กลมรี หรือรูปร่างไม่แน่นอน ผิวของเปลือกของผล
ที่เป็นโรคนี้จะเปลี่ยนเป็นสีเทาดํา แห้งและแข็งบุ๋ม หรือยุบลงไปเล็กน้อยเมื่อผ่าผลตรวจดูเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ด
จะพบว่าเกิดเน่าชํ้า เป็นสีนํ้าตาลปนเหลืองหรือสีนํ้าตาล ส่วนมากจะลุกลามอย่างรวดเร็ว เป็นหมดทุกเมล็ด
ภายในผลนั้นจึงนับได้ว่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่ทําความเสียหายต่อผลผลิตของมังคุดรวมทั้งผลที่ได้ทําการเก็บ
เกี่ยวเป็นอย่างมาก
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Diplodia natalensis เกิดตุ่มนูน pycnidium บนผิวเปลือกภายในมีสปอร์
conidia สามารถปลิวไปทั่วแล้วเข้าทําลายผลอื่น ๆ อีกได้
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อเกิดโรคนี้บนต้น ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น พีซีเอ็นบี 3 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร เมื่อเก็บผล
มาแล้วควรแช่ใน บอแรกซ์ 8 เปอร์เซ็นต์ 30 นาที หรือใน ฟอร์มาลิน 1.5 เปอร์เซ็นต์ 15 นาที แล้วผึ่งให้แห้ง
ก่อนบรรจุหีบห่อ
4. โรคผลเน่าเละ
ลักษณะอาการ :
โรคนี้จะเกิดขึ้นในขณะที่ทําการขนส่ง และผลที่เก็บในยุ้งฉาง โรงเรือน เพื่อรอการส่ง
จําหน่ายในท้องตลาด มีเชื้อราสาเหตุของโรคอยู่หลายชนิดที่เข้าทําลายพร้อม ๆ กันทําให้เกิดเน่า โดยทั่วไปก็
จะเกิดเป็นจุดตามบริเวณผิวเปลือกของผล แต่เราจะสังเกตเห็นได้เมื่อลักษณะอาการของโรคเกิดเป็นมากแล้ว
ซึ่งเป็นแผลอาจเห็นได้ชัด เมื่อใช้นิ้วมือกดลงไป จะรู้สึกว่าเปลือกที่ถูกกดตรงบริเวณนั้น อ่อนนุ่ม ยุบลงไป
อย่างง่ายดาย บางครั้งอาจมีของเหลวไหลซึมออกมามีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว สีนํ้าตาลปนสีเหลือง เมื่อผ่าตรวจดู
ภายในจะพบว่าเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดถูกทําลาย มีลักษณะอาการเน่าเละ ฉํ่านํ้า โดยรอบผิวของเนื้อเยื่อเป็นสี
นํ้าตาล อาจมีเส้นใยของเชื้อรา เกิดขึ้นอยู่บนเยื่อหุ้มเมล็ดนั้น หรือแม้แต่บนผิวเปลือกของผลก็มีเส้นใยของ
เชื้อราปกคลุมบางส่วน โรคนี้มีความสําคัญที่ก่อความเสียหายต่อผลหลังการเก็บเกี่ยวมาก
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Phomopsis magostanae Pestalozzia pauciseta
Fusarium oxysporum Rhizopus nigricans มีสปอร์ conidia เกิดมากมายสามารถปลิวแพร่ระบาดเข้า
ทําลายผลอื่น ๆ
การป้องกันและกําจัด :
พ่นด้วยสารเคมี เช่น ไธโอฟาเนท เมททิล ไธอะเบนดาโซล 15 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ
แช่ในบอแรกซ์ 8 เปอร์เซ็นต์ ผึ่งให้แห้งก่อนบรรจุหีบห่อ ในขณะที่เก็บอยู่ในเรือนโรง ยุ้งฉาง อย่าให้อับ
เพราะจะเพิ่มอุณหภูมิและความชื้น ซึ่งจะส่งเสริมให้ปริมาณของเชื้อรามีมากขึ้น