Page 56 -
P. 56

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       50


               ในเนื้อเยื่อ เชื้อราดังกล่าวนี้จะเข้าทําลายผลที่เจริญเต็มที่แล้ว เกิดแผลสีนํ้าตาลเข้มและพื้นแผลจะยุบบุ๋มลงไป

               เมื่อผ่าตรวจดูภายในจะพบว่าเยื่อหุ้มเมล็ดเกิดเน่าเป็นสีนํ้าตาล ถ้าเป็นมากก็จะทําให้เยื่อหุ้มเมล็ดเน่าหมดทั้ง
               ผล จึงนับได้ว่าเป็นโรคที่สําคัญก่อผลเสียหายต่อผลผลิตโดยตรง

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Pestalotia  flagisettula  เมื่อ  acervulus แตกออกแล้วสปอร์จะปลิวไปกับ

               ลมหรือแพร่ไปกับนํ้าฝน
                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อโรคนี้เริ่มแพร่ระบาด ก็ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น ไซเนบ 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร

               โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะเวลาที่มังคุดมีผลที่กําลังเจริญเต็มที่แล้ว และใกล้ระยะการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะช่วย

               ป้องกันและกําจัดโรคนี้ได้ผลดียิ่งขึ้น


               2. โรคกิ่งแห้ง

                        ลักษณะอาการ :

                               โดยทั่วไป เชื้อราจะเข้าทําลายเนื้อเยื่อของกิ่งที่ยังอ่อนอยู่หรือยังเจริญไม่เต็มที่โดยเกิดเป็น

               จุดสีนํ้าตาล จุดจะขยายใหญ่เป็นทางยาวหรือเกิดเป็นจุดอยู่ทั่วไป เมื่อโรคได้รับอุณหภูมิและความชื้นที่
               เหมาะสมก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเกิดเป็นแผลรอบกิ่ง ผิวเปลือกของกิ่งดังกล่าวจะเน่าและแห้ง ถ้า

               หากผ่าตรวจดูภายในจะพบว่าเนื้อเยื่อและท่อนํ้าท่ออาหารถูกทําลายเน่าเป็นสีนํ้าตาลปนเหลือง ทําให้

               ส่วนบนของกิ่งยอดที่อยู่เหนือส่วนที่เป็นโรคขึ้นไป ขาดนํ้าและแร่ธาตุ อาหาร ในที่สุดจะเกิดลักษณะอาการ
               ใบเหี่ยวเฉาแล้วแห้งตายไปในที่สุด สําหรับผลที่เจริญเต็มที่แล้วเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดเกิดเน่า เป็นสีนํ้าตาลเข้มอาจ

               เกิดเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดภายในผล

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
                               เกิดจากเชื้อรา  Botryodiplodia  theobromae  เกิดตุ่มนูน  pycnidium  สีดําขนาดเท่าหัวเข็ม

               หมุดฝังอยู่ที่แผลภายในสปอร์ conidia ปลิวไปกับลมและถูกนํ้าฝนชะพัดพาไป

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ถ้าพบว่าโรคนี้เริ่มระบาด ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น แคปทาโฟล 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
               และตัดกิ่งที่แห้งพร้อมทั้งผลที่เน่าไปเผาไฟทําลายเสีย



               3. โรคผลเน่าสีเทาดํา

                        ลักษณะอาการ :

                               โรคนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่ผลแก่หรือเจริญเต็มที่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว จนถึงระยะที่หลังจากได้
               เก็บเกี่ยวเรียบร้อยไปแล้ว ซึ่งนําผลที่เก็บเกี่ยวนั้นไปเก็บไว้ห้อง ยุ้งฉาง ก่อนที่จะดําเนินการทําความสะอาด
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61