Page 55 -
P. 55
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
49
5
มังคุด
มังคุด (Garcinia mangostana) เป็นไม้ผลยืนต้นมีทรงพุ่มขนาดกลาง ปลายใบมน ใบหนาสีเขียว
เข้ม ผลค่อนข้างกลมขนาดประมาณ 5-2 ซม. เปลือกหนาเนื้อของเปลือกสีม่วง ผิวนอกของผลเมื่อยังอ่อนอยู่
จะเป็นสีนํ้าตาล เมื่อแก่จะเป็นสีม่วงปนสีนํ้าตาล และสีม่วงคลํ้า เมล็ดขนาดใหญ่ห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อสีขาว
เรียงประกบกันตามความยาวของผล มีรสชาติค่อนข้างหวาน มังคุดเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีความชื้น
สูง อุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส ปกติจะผลิดอกออกผลเมื่ออายุ 6-7 ปี ในภาคตะวันออกจะมีการผลิ
ดอกออกผลระหว่าง เดือนเมษายน-กรกฎาคม ส่วนในแถบภาคใต้จะผลิดอกออกผลในช่วงเดือน สิงหาคม-
ตุลาคม ทั้งนี้เป็นเพราะอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ดินจะต้องมีสภาพเป็นดินร่วนและรับความชื้นไว้ได้นาน ถึง
ค่อนข้างจะเป็นดินเหนียวปนทราย อากาศถ่ายเทสะดวก อากาศเย็นสบาย มีความชื้นค่อนข้างสูง มีร่มเงาปาน
กลาง โดยเฉพาะอุณหภูมิและความชื้นเป็นตัวกําหนดการผลิดอกออกผล เนื่องจากปัจจุบันตลาดต่างประเทศ
มีความต้องการมังคุดมากยิ่งขึ้น เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น โดยมีบริษัทผู้ส่งออกได้มารับซื้อถึงสวนของ
เกษตรกร ขณะนี้ตลาดส่งออกมังคุดได้ขยายไปสู่ประเทศกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ที่นอกเหนือกลุ่ม
ประเทศอาเซียนด้วยกัน จึงเป็นผลให้ปริมาณผลผลิตยังไม่พอเพียงต่อความต้องการของตลาดต่างประเทศ
ดังนั้นจึงทําให้เกษตรกร ทั้งในแถบภาคใต้และภาคตะวันออกทําการขยายการการปลูกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยัง
มีเกษตรกรในแถบภาคกลางบางส่วน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มมีการปลูกมังคุดกันบ้างแล้ว ใน
อนาคตอันใกล้นี้ก็จะมีผลผลิตของมังคุดมีปริมาณมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองการส่งออกผลมังคุดไทยไปยัง
ตลาดต่างประเทศซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยยกฐานะทางเศรษฐกิจครอบครัวของเกษตรไทย ให้มีความ
เป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการปลูกมังคุดก็เหมือนการปลูกพืชผลชนิดอื่น ๆ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคจาก
การเข้าทําลายของโรคหลายชนิด ตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งถึงระยะหลังการเก็บเกี่ยว ผู้เขียนได้ทําการรวบรวม
โรคที่สําคัญ พร้อมทั้งวิธีป้องกันกําจัดมาให้เกษตรกรได้ทราบไว้มีดังต่อไปนี้
1. โรคใบจุดสีนํ้าตาลไหม้
ลักษณะอาการ :
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคจะเกิดสปอร์และปลิวไปตกบนผิวใบ แล้วงอกไชชอนเข้าไป
ทําลายเนื้อเยื่อของผิวใบด้านบน ในระยะแรกจะเกิดเพียงเป็นจุดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด มีสีเหลือง จุดจะขยาย
เป็นแผลใหญ่มีขนาดประมาณ 5 ซม. รูปร่างลักษณะไม่แน่นอน พื้นแผลเป็นสีนํ้าตาลไหม้ ตรงกลางแผลจะ
แห้ง ขอบริมแผลเรียบสีเข้ม เมื่อสังเกตให้ดีจะพบว่ามีตุ่มนูน acervulus ของเชื้อราเกิดกระจัดกระจายฝังอยู่