Page 59 -
P. 59

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       53


                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม  Meloidogyne  incognita  นํ้าเป็นพาหะที่สําคัญในการแพร่
               ระบาด แต่การเคลื่อนตัวของไส้เดือนในดินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ไปเข้าทําลายรากของต้นที่อยู่ใกล้เคียง

                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อเริ่มเกิดโรครากปม ควรคลุกดินรอบต้นภายในที่ขอบของพุ่มด้วยสารเคมี เช่น ฟูรา

               ดาน  โมแคป  รักบี้ไวเดท 25 กรัมต่อต้น ในระยะต้นและปลายฤดูฝน ทั้งนี้เกษตรต้องขุดดินตรวจดูรากทุก
               ต้น หากพบต้นใดเป็นโรคนี้ ก็ต้องใช้สารเคมีดังกล่าวพร้อมทั้งใช้กับต้นใกล้เคียงด้วย



               7. โรคทรีดไบลท์

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราสาเหตุของโรคนี้ จะเข้าทําลายเนื้อเยื่อโดยผ่านเข้าทางช่องปากใบ แล้วเจริญเข้าไป
               ยังช่องว่างระหว่างเซลล์ กลุ่มเซลล์ ของเนื้อเยื่อที่ถูกทําลายจะเกิดเน่าเป็นสีนํ้าตาลเข้มและบริเวณผิวของใบ

               จะเกิดการเหี่ยวย่นอย่างเห็นได้ชัด จุดแผลดังกล่าวจะมีลักษณะค่อนข้างกลม โรคจะลุกลามมาก เมื่อมี

               ความชื้นในอากาศสูงและเกิดแผลดังกล่าวทั่วไป อาจทําให้ใบร่วงหล่นไปก่อนกําหนดในขณะเดียวกันจะ

               พบว่า มีเส้นใยของเชื้อราสีขาวนวลหรือสีนํ้าตาลอ่อนที่เกิดมัดรวมตัวกันมีลักษณะคล้ายเส้นเชือก หรือ
               เส้นด้าย เกิดเจริญอยู่บนผิวใบทั้งผิวใบด้านบนและด้านล่าง บางครั้งจะพบว่าเส้นใยดังกล่าวเกิดอยู่บนผิวใบ

               อย่างหนาแน่น ซึ่งจะทําให้ใบลดการปรุงอาหารหรือคายนํ้า อย่างไรก็ตามโรคนี้ก็เป็นผลเสียหายต่อการ

               เจริญเติบโตและทําให้ผลผลิตลดลงได้เช่นกันโดยเฉพาะในภาวะที่อากาศมีความชุ่มชื้นสูง สามารถเข้า
               ทําลายกิ่งและลําต้นด้วย

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Marasmius   scandens  ซึ่งถ้าเจริญอยู่ตามผิวของลําต้นเมื่ออุณหภูมิและ
               ความชื้นพอเหมาะก็จะเกิดเป็นดอกเห็ด ขนาดประมาณผลมะนาวผ่าซีก สีขาวหม่น ก้านสั้น และมีสปอร์เกิด

               อยู่ที่ครีบผิวด้านล่างของดอกเห็ด ซึ่งจะปลิวไปตามลมหรือถูกนํ้าฝนชะพัดพาไป

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ถ้ามีดอกเห็ด
               เกิดขึ้นก็ขูดออกไปเผาไฟทําลายเสียก่อน



               8. โรครากเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค ส่วนใหญ่จะเจริญอยู่ในดินหรือในซากพืชอื่น ๆ ซึ่งอยู่ใน
               บริเวณโคนต้นนั้น และจะเจริญเข้าทําลายผิวเปลือกของรากที่อยู่ระดับผิวดินทําให้เกิดมีลักษณะอาการเน่าผุ
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64