Page 68 -
P. 68
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
62
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากพืชชั้นตํ่าพวกสาหร่าย Cephaleuros virescens ซึ่งมีพืชอาศัยหลายชนิดและ
ระบาดในฤดูฝน เชื้อนี้ต้องการแสงแดดในการดํารงชีวิต แต่ในระยะแรกมีสีเขียว ระยะที่มีสนิมเหล็ก เป็น
ระยะของการเกิดสปอร์แพร่ระบาด โดยสปอร์จากขุยกํามะหยี่สีสนิม ซึ่งขยายพันธุ์ของเชื้อก็โดยการแตก
สปอร์เป็นจํานวนมาก แล้วแพร่ระบาดโดยอาศัยลมและนํ้าเป็นสําคัญ
การป้องกันและกําจัด :
ในแหล่งที่มีความชุ่มชื้นมาก มักจะพบว่ามีโรคนี้เกิดระบาดมากอยู่ทั่วไป ดังนั้นควรพ่น
ด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร เมื่อมีโรคนี้เริ่มแพร่ระบาด
และพยายามตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคมากออกไปเผาไฟทําลายเสีย เพื่อช่วยลดปริมาณเชื้อให้น้อยลงไป
7. โรครากสีนํ้าตาลแดง
ลักษณะอาการ :
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคจะอยู่ในดินและเจริญเป็นเส้นใยสีนํ้าตาลแดงรวมตัวกัน
เหมือนเส้นด้ายหรือเชือก มีลักษณะคล้ายรากไม้เจริญขึ้นปกคลุมบนผิวรากและไชชอนเข้าไปในเนื้อไม้ของ
รากที่เจริญอยู่ระดับผิวดิน ทําให้รากเน่าผิวเปลือกผุ ยุ่ย และเนื้อไม้เน่า เป็นสีนํ้าตาลปนเหลือง โรคจะ
ลุกลามไปโดยรอบต้นเกิดเนื้อไม้เน่าเช่นเดียวกัน เมื่อเป็นมากจะทําให้เกิดอาการเหี่ยวเฉา ชะงักการ
เจริญเติบโต ผลผลิตลดลง ถ้าเป็นระยะผลิดอกออกผล ดอกและผลอ่อนจะร่วงหล่นไป
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Ganoderma pseudoferreum เมื่ออุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม เชื้อรา
จะเกิดเป็นดอกเห็ดรูปจานควํ่า ผิวด้านบนดอกเห็ดเป็นสีนํ้าตาลหรือนํ้าตาลปนม่วงมีผิวมัน ส่วนผิวด้านใต้
เรียบสีขาวนวลหรือสีนํ้าตาลอ่อน มีรูเล็กเป็นจํานวนมากซึ่งภายในจะเป็นที่เกิดของสปอร์ ซึ่งเมื่อสปอร์แก่ก็
จะปลิวไปกับลมหรือถูกนํ้าชะพัดพาไป
การป้องกันและกําจัด :
ขูดส่วนที่เป็นโรคและดอกเห็ดออกไปเผาไฟทําลาย แล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์
ออกซีคลอไรด์ 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่ว