Page 72 -
P. 72

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       66


                                การป้องกันและกําจัด :

                                             เนื่องจากความเสียหายเกิดขึ้นที่ผลเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อเริ่มพบโรคราแป้งระบาดจะต้องพ่น
               ด้วยสารป้องกันกําจัดโรคให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะเมื่อดอกเงาะบานและเริ่มติดผลโดยพ่นด้วย เบโมมีล 8 กรัม

               ต่อนํ้า 20 ลิตร หรือไดโนแคป 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่วช่อดอกและผลอ่อนหรือแม้แต่ที่ผลใหญ่ใกล้แก่ที่

               กําลังมีลักษณะอาการของโรคนี้อยู่


               2. โรคเงาะขี้ครอก

                        ลักษณะอาการ :

                               ลักษณะอาการปรากฏที่ผลเงาะ โดยผลจะไม่เจริญเติบโต มีขนาดเล็ก ขนาด

               เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. เจริญเติบโตได้ก็จะลีบแบนไม่สมบูรณ์ โค้งงอแต่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก

               มักจะเป็นทั้งช่อ  เมื่อถึงกําหนดเงาะสุก เงาะที่เป็นโรคนี้จะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง แต่ส่วนมากจะเหลืองอมเขียว
               เมื่อนานวันเข้าก็จะแห้งติดอยู่กับขั้วของช่อผลนั้น เมื่อแกะผลเงาะที่ยังสดอยู่ตรวจดูภายในจะพบว่าภายใน

               ผลขี้ครอกนั้นมีเนื้อเงาะเจริญขึ้นมาจากรังไข่เอง แต่การเจริญไม่สมบูรณ์ มีส่วนที่เป็นเนื้อน้อยมาก ลักษณะ

               แบนและปราศจากเมล็ด
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากรังไข่ไม่มีการผสมเกสรทําให้รังไข่ของเงาะซึ่งมีอยู่ 2 รัง ซีกหนึ่งจะฝ่อเพราะ

               ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ ทําให้รังไข่อีกซีกหนึ่งเจริญเป็นเงาะขี้ครอก โดยธรรมชาติแล้วต้นเงาะมีอยู่ 2

               ประเภทคือ เงาะต้นตัวผู้จะให้ดอกตัวผู้ล้วน ๆ และในต้นเดียวกันมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในดอก
               เดียวกัน ดอกประเภทนี้มีรังไข่ 2 รัง รังหนึ่งจะเจริญเติบโตถ้าได้รับการผสมเกสร และอีกรังหนึ่งจะฝ่อไป

               หลังจากการผสมพันธุ์ในบางแหล่งและบางโอกาสทําให้แหล่งละอองเกสรตัวผู้มีน้อย  ทั้งนี้เป็นเพราะ

               ละอองเกสรแก่ไม่ตรงเวลาที่ผสมพันธุ์กับรังไข่ หรือปริมาณเกสรตัวผู้ไม่พอ โอกาสที่รังไข่จะได้รับการผสม
               เกสรแก่ไม่ตรงเวลาที่ผสมพันธุ์กับรังไข่  หรือปริมาณเกสรตัวผู้ไม่พอ โอกาสที่รังไข่อีกรังหนึ่งเจริญเติบโต

               เป็นเงาะขี้ครอก ทั้งๆ ที่รังไข่นี้ถ้าได้รับการผสมเกสรก็จะเจริญเป็นผลเงาะเช่นปกติ แต่ก็ต้องหมดโอกาสไป

               กลับกลายเป็นผลเงาะขี้ครอก
                      การป้องกันและกําจัด :

                               โดยการปลูกเงาะต้นตัวผู้ขยายให้กระจัดกระจายในสวน หรือโดยติดตาเงาะตัวผู้ให้

               กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป  ซึ่งจะเป็นแหล่งให้เกสรตัวผู้แพร่ไปผสมพันธุ์ได้  ที่สวนเงาะปัจจุบันใช้สารเคมีฉีด

               พ่นดอกเงาะ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกทําได้ง่ายและได้ผลดีโดยพ่นด้วยสารเคมี เช่น เอ็น เอ เอ ซึ่งอาจอยู่ในรูปชื่อ
               การค้าต่าง ๆ เช่น แพนโนฟิก กับดอกที่กําลังเป็นดอกตูมก่อนบานโดยพ่นเป็นช่อ ๆ ให้กระจายทั่วต้นหรือ

               พ่นเป็นทางยาวพาดผ่านต้น ดอกที่ถูกสารดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้เจริญสมบูรณ์ จะช่วยการ

               ผสมพันธุ์ติดผลมากขึ้น ฉะนั้นต้องเตรียมการเสียแต่เนิ่น ๆ ตามคําแนะนํา นอกจากนี้เกษตรกรต้องพยายาม
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77