Page 73 -
P. 73
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
67
ติดตามคําแนะนําของทางราชการเพราะอาจจะมีสารเคมีชนิดใหม่ ๆ ที่ใช้ได้ผลดีกว่า ซึ่งเกษตรกรควรปฏิบัติ
ตาม
3. โรคจุดสาหร่ายสนิม
ลักษณะอาการ :
ลักษณะอาการบนใบเกิดจุดสีเทาอ่อนปนเขียว ซึ่งขยายเป็นจุดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-
1 ซม. อาการจะเกิดขึ้นเฉพาะส่วนพื้นใบที่ได้รับแสงแดด จุดที่เป็นโรคเมื่อมีอายุมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
สนิมเหล็ก เพราะเป็นระยะเกิดสปอร์ มีลักษณะคล้ายกํามะหยี่ และอาการบนกิ่งเป็นกํามะหยี่สีแดงแสด
คล้ายสนิมเหล็ก เกิดขึ้นทําลายบนกิ่งหรือลําต้นที่ยังไม่แก่นัก จุดทําลายจะเกิดขึ้นเฉพาะส่วนที่ได้รับ
แสงแดด ผิวของกิ่งที่ถูกเชื้อสาหร่ายเข้าทําลายจะแตก เพราะรากเทียมของสาหร่ายเข้าไชชอนในเนื้อเยื่อ ถ้า
เป็นมากกิ่งอาจแห้งตายได้
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากพืชชั้นตํ่าพวกสาหร่าย Cephaleuros virescens การเจริญเติบโตของเชื้อนี้
ต้องการแสงแดดในระยะแรก ซึ่งมีสีเขียวเส้นเล็ก ๆ เกิดรวมกลุ่มเป็นกระจุก ระยะที่เป็นสีสนิมเหล็กเป็น
ระยะที่เกิดสปอร์ในการแพร่ระบาด โดยมากระบาดในฤดูฝนหรือในแหล่งที่มีความชุ่มชื้นและลมก็เป็น
พาหะที่สําคัญมาก เช่น ช่วยให้มีการแพร่ระบาดได้มากยิ่งขึ้น
การป้องกันและกําจัด :
การป้องกันกําจัดทําได้โดยพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า
20 ลิตร ในกรณีที่เป็นที่กิ่งอย่างรุนแรงให้ตัดทิ้งออกไปเผาไฟทําลายเสีย และถ้าเป็นกับกิ่งใหญ่ก็ทาด้วย
สารเคมีดังกล่าวให้ทั่ว
4. โรคราสีชมพู
ลักษณะอาการ :
โรคนี้เป็นได้กับกิ่งและลําต้น โดยเฉพาะพบเป็นที่ง่ามของกิ่ง ส่วนลําต้นจะเป็นได้กับต้น
เงาะต้นเล็ก ๆ กิ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 ซม. ส่วนที่ถูกทําลายจะเห็นราสีชมพู แต่ในระยะแรกมีสีขาว
และเปลี่ยนเป็นสีชมพูเชื้อราประสานกันเป็นดวง แผ่เคลือบผิวขยายออกไปอย่างรวดเร็วจนรอบกิ่ง
เหมือนกับถูกทาด้วยสีขาวหรือสีชมพู ใบเหลืองร่วงและกิ่งถูกทําลายแห้งตาย เพราะผิวของกิ่งเป็นขุย และ
เนื้อเยื่อภายในผุแห้งตายไป ทั้งนี้เป็นเพราะใต้ผิวด้านล่างของเชื้อราที่เคลือบกิ่งและลําต้นอยู่นั้น จะมีคล้าย
รากเทียมเจริญเข้าไปทําลายทําให้เปลือกและเนื้อไม้เน่า ผุ เปื่อย แห้งตาย อาจเป็นส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดของ
กิ่งและลําต้นที่เป็นโรค