Page 66 -
P. 66

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       60


               3. โรคราแป้ง

                        ลักษณะอาการ :

                               ผิวที่ผลอ่อนจะมีผงสีขาว ๆ คล้ายโรยด้วยแป้งในระยะที่เป็นมาก ๆ จะดูขาวทั้งหมดผล

               เมื่อเป็นกับผลอ่อน ผลจะร่วงไป  แต่ถ้าเชื้อโรคเข้าทําลายเมื่อผลโตแล้วจะปรากฏเป็นขุยขาวๆ เกิดขึ้น แต่
               การเจริญเติบโตของผลขึ้นเรื่อยๆ และมีขุยดังกล่าว ขึ้นปกคลุมผิวตามหนามผลทุเรียนและซอกหนาม การ

               ทําลายของโรคนี้ทําให้ผิวกร้าน ผลทุเรียนที่ถูกโรคราแป้งทําลายเมื่อได้พ่นสารเคมีป้องกันกําจัดจนหายแล้ว

               ผิวของผลทุเรียนก็จะมีสีออกสีนํ้าตาล โดยเฉพาะพันธุ์ชะนีหรือแม้แต่พันธุ์หมอนทองก็เช่นกัน มักจะพบว่า
               เป็นโรคนี้มากแต่ก็ไม่เป็นผลเสียหายต่อ ภายในของผลโดยตรง นอกจากในระยะผลอ่อนเริ่มติด ถ้าเป็นโรค

               นี้ก็จะเป็นอันตรายมากเพราะ ทําให้ร่วงหล่นไปเป็นจํานวนมาก

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
                               เกิดจากเชื้อรา  Oidium   zibethii   ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับของเงาะ แต่ของทุเรียนนั้น ยังไม่

               ระบาดมาก  อย่างไรก็ตาม ขุยขาว ๆ ของเชื้อราคือสปอร์ ใช้ในการแพร่ระบาดโดยปลิวไปกับลมหรือแมลง

               เป็นพาหะนําไปสู่ต้นอื่น

                        การป้องกันและกําจัด :

                               การป้องกันและกําจัดโรคราแป้ง ก็โดยการพ่นด้วยสารเคมีในระยะโรคระบาดในช่วงผล
               อ่อนและผลกําลังเติบโต เช่น ไดโนแคป 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือเบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร



               4. โรคราสีชมพู

                        ลักษณะอาการ :
                               เชื้อราจะเข้าทําลายกิ่ง โดยเฉพาะบริเวณง่ามกิ่ง เพราะเป็นส่วนที่รองรับเชื้อราสาเหตุของ

               โรคซึ่งจะมีผลทําให้ใบมีสีเหลืองร่วงหล่นไป คล้ายโรคกิ่งแห้งและเน่า แผลที่ถูกทําลายโคนกิ่งมีเชื้อราปก

               คลุมเห็นได้ มีสีขาวอมชมพูเหมือนทาไว้ด้วยสีบริเวณที่เชื้อราขึ้นจะลุกลามรอบกิ่งส่วนเปลือกถูกทําลายเมื่อ

               ถากเปลือกจะเห็นเนื้อไม้ภายในมีสีนํ้าตาล การทําลายของเชื้อราทําให้กิ่งแห้งตายเป็นกิ่ง ๆ บริเวณที่เชื้อรา
               ขึ้นเมื่อกิ่งแห้งตายจะเห็นเชื้อรามีสีชมพู เหมือนทาด้วยสีดังกล่าว โรคนี้มีผลทําให้การเจริญเติบโตลดลง

               หรือมีผลผลิตน้อยเพราะมีกิ่งถูกทําลายและแห้งตายไปถ้าหากเกิดเป็นกับกิ่งขนาดใหญ่ จะทําให้ตาดอกเจริญ

               ออกมาน้อยมาก
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Corticium   salmonicolor   โดยสปอร์ปลิวไปตามลมส่วนมากจะมีการ

               ระบาดในฤดูฝน ฉะนั้นนํ้าฝนจึงเป็นพาหะนํ้าโรคที่สําคัญด้วย โดยมากจะทําลายกิ่งที่อยู่ภายในทรงพุ่มที่
               หนาทึบ ถ้าการระบายอากาศไม่ดีจะเป็นโรคนี้ได้รุนแรงมากยิ่งขึ้น
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71