Page 93 -
P. 93
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
87
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Piricularia grisae ไปทําลาย สปอร์สามารถปลิวไปตกบนกล้วยผลอื่น
และเกิดเป็นโรคได้อีก เกิดแพร่ระบาดแบบลูกโซ่อย่างรวดเร็ว
การป้องกันและกําจัด :
ในระยะกล้วยที่ใกล้แก่หรือก่อนเก็บเกี่ยว ควรพ่นกล้วยทั้งเครือด้วยสารเคมี เช่น คาร์เบน
ดาซิม 15 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร เอดิเฟนฟอส 20 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตรหรือบีซีเอ็ม 16 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร และพ่น
อีกครั้งหนึ่ง หลังจากการเก็บเกี่ยวมาแล้วทันทีก่อนส่งจําหน่ายหรือบรรจุหีบห่อ แต่ต้องผึ่งทิ้งไว้ให้แห้ง
ก่อนที่จะบรรจุหีบห่อหรือขนส่งไปจําหน่ายยังตลาดผู้บริโภค
7. โรคผลเน่า
ลักษณะอาการ :
เชื้อราจะเข้าทําลายส่วนปลายของผลเกิดเน่าเป็นสีนํ้าตาลเข้ม ผิวของเปลือกจะแห้งและมี
ลักษณะค่อนข้างแข็ง และจะเป็นสีนํ้าตาลไหม้หรือสีดํา ต่อมาจะขยายการทําลายเข้าสู่ส่วนล่างภายในผล
ทําให้เกิดเน่าเพิ่มยิ่งขึ้น เมื่อผ่าตรวจดูภายในผลจะพบว่าเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม ฉํ่านํ้า สีเหลืองปนสีนํ้าตาลดํา
sclerotium ของเชื้อราสาเหตุของโรคเกิดอยู่เป็นจํานวนมากโดยทั่วไปแล้วจะเกิด ascospore ในถุงใน
apothecium ขนาดเล็ก ๆ รูปถ้วย สีดํา ฝังอยู่ที่ผิวของแผล เมื่อเกิดมีลักษณะอาการรุนแรงจะเน่าหมดทั้งผล
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Sclerotinia sclerotiorum โดยทั่วไปเชื้อราจะติดไปกับผลที่เป็นโรคและ
เชื้อราจะเกิดสปอร์ ascospore ในถุงที่ฝังตัวอยู่ใน apothecium ที่แผลหรือส่วนที่เป็นโรค
การป้องกันและกําจัด :
ตัดผลที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทําลายเสีย แล้วพ่นหวีกล้วยที่เหลือด้วยสารเคมี เช่น วาลิดา
มัยซิน 30 ซีซี ต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่ว
8. โรคเฟโอเซปทอเรียใบจุด
ลักษณะอาการ :
ใบเกิดเป็นจุดเล็กขนาดเท่าหัวเข็มหมุด สีนํ้าตาลดํา มีรูปร่างค่อนข้างกลม แต่ส่วนมากจะ
ยาวรี ขนาด 0.3-0.7 × 0.5-1.2 ซม. เมื่ออุณหภูมิ ความชื้นเหมาะสมโรคจะทวีความรุนแรง ทําให้แผลขยายมี
ขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 1.5×10 ซม. ตรงกลางของแผลจะแห้งเป็นสีนํ้าตาลอ่อนหรือสีนํ้าตาลปนเทา ขอบ
แผลเป็นแถบกว้างสีนํ้าตาลเข้มหรือนํ้าตาลไหม้ ถัดออกไปจะเป็นสีเหลืองโดยรอบอย่างเห็นได้ชัด ขอบ
หรือริมแผลทั้งตอนหัวและท้ายจะมีทั้งเรียบและแตกออกไปเป็นแฉกบ้าง อย่างไรก็ตามถ้าสังเกตให้ดีจะ