Page 96 -
P. 96
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
90
12. โรคกาบขาว
ลักษณะอาการ :
เชื้อราจะเข้าทําลายรากและบริเวณเหง้าหรือลําต้นแท้ โดยเส้นใยของเชื้อราจะมาเกาะ
รวมตัวกันมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายหรือรากไม้ มีสีขาวหม่นหรือสีขาว เกิดอยู่บนผิวของส่วนดังกล่าวอย่าง
เห็นได้ชัด เชื้อราจะสร้างรากเทียมเข้าไปไชชอนในเนื้อเยื่อทําให้เกิดมีอาการเน่า เมื่อโรคทวีความรุนแรง
เชื้อราจะขยายการทําลายขึ้นไปสู่กาบของลําต้นเทียมเกิดปกคลุมอยู่บนกาบมีทั้งลักษณะเป็นเส้นด้ายสีขาว
และเกิดต่อเนื่องกันเป็นผืนคล้ายผิวของกาบถูกฉาบด้วยสีขาว กาบจะเริ่มเน่าเป็นสีนํ้าตาล และกาบจะค่อย ๆ
แห้งไปทีละกาบ ทําให้ลําต้นเทียมมีขนาดเล็กลง ชะงักการเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัด ไม่ผลิดอกออกผล
เมื่ออุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม เชื้อราก็จะเจริญออกเป็นดอกเห็ดสีขาวหม่นปนสีชมพู ขนาดดอกเห็ด
ประมาณ 1-3×2-3 นิ้ว ดอกเห็ดค่อนข้างอ่อนนุ่ม ด้านใต้ของดอกจะมีลักษณะเป็นครีบซึ่งเป็นที่เกิดของ
สปอร์ ถ้าเกิดเป็นโรคในระยะหน่อเล็ก ๆ กล้วยจะเน่าที่กาบโดยรอบไม่แตกใบในที่สุดจะตายไป
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Marasmius semiustus มีสปอร์ basidiospores เกิดอยู่ที่ครีบบนผิวด้านใต้
ของดอกเห็ด เมื่อแก่ก็จะร่วงหล่นลงสู่พื้นดินและถูกนํ้าชะพัดพาไป หรือติดไปกับหน่อกล้วยที่นําไปปลูก
การป้องกันและกําจัด :
ตัดส่วนที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทําลายเสีย แล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอ
ไรด์ 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
13. โรคซิกาโตก้าสีดํา
ลักษณะอาการ :
ในระยะแรกใบจะเกิดเป็นจุดเล็ก ๆ เท่าปลายเข็มหมุด สีนํ้าตาลแดง จุดจะขยายใหญ่เป็น
ขีดยาว สีนํ้าตาลดํา ขนาดประมาณ 1.2×6.10 ซม. แผลจะเชื่อมติดต่อกันเป็นแผลใหญ่ และมีขอบแผลเดิมมา
เชื่อมต่อกันอย่างเห็นได้ชัด หากเป็นโรครุนแรง หวีและเครือจะมีขนาดเล็ก แต่ถ้าเกิดโรคในระยะต้นอ่อนก็
จะชะงักการเจริญ แคระแกร็น โรคจะลดลงเมื่อเข้าสู่หน้าหนาว โรคนี้มีระบาดมากในแอฟริกา และอเมริกา
กลาง
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากการทําลายของเชื้อรา Cercospora fijiensis var. diformis (Paracercospora
fijiensis) มี conidia เกิดกลางแผล และมี perfect stage เป็น Mycosphaerella fijiensis var. difformis
เกิด ascospore ใน ascus ฝังในเนื้อเยื่อของใบ