Page 97 -
P. 97
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
91
การป้องกันและกําจัด :
พ่นด้วยไดเธน-เอ็ม จํานวน 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร โรคนี้ถ้าพบแพร่ระบาด ก็ควรเผา
ทําลายให้หมดไป เพราะเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงมาก
14. โรคใบไหม้
ลักษณะอาการ :
เกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลเท่าปลายเข็มหมุดกระจายอยู่ทั่วไปบนผิวใบ และแผลขยายใหญ่มาก
ยิ่งขึ้น รูปร่างไม่แน่นอน พื้นแผลจะแห้งเป็นสีนํ้าตาลเหมือนใบกล้วยที่แห้งอย่างปกติ แผลจะเชื่อมต่อกัน
เป็นบริเวณกว้าง ขอบแผลสีนํ้าตาลเข้ม ตรงบริเวณกลางแผลจะมีตุ่มสีนํ้าตาลเกิดเป็นกลุ่ม หากเป็นมากก็ลด
การปรุงอาหาร เป็นผลให้ต้นอ่อนแอ แคระแกร็น
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Drechalera musae และ conidia จะปลิวแพร่กระจายไปทั่ว ทําให้เกิด
โรคระบาดในบริเวณกว้าง
การป้องกันและกําจัด :
จงตัดใบไปเผาไฟแล้วพ่น บีม 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตรให้ทั่ว
15. โรคเหี่ยว (Moko)
ลักษณะอาการ :
ใบกล้วยจะเหี่ยวเฉาเป็นสีเหลือง อาจห้อยลงมาขนานกับลําต้น แต่ลักษณะอาการอย่างนี้
คือ เป็นโรครุนแรงแล้ว แต่ในระยะเริ่มเป็นจะพบใบอ่อนมีจุดสีเขียวอ่อนแล้วค่อย ๆ หายไป แต่จะปรากฏ
ว่ากาบลําต้นและก้านเครือถูกเชื้อเข้าทําลายจนท่อนํ้าท่ออาหารหมดสภาพ ไม่สามารถส่งนํ้าอาหารไปเลี้ยง
ลําต้นได้อีกต่อไป ยังผลให้เกิดอาการเหี่ยวอย่างเห็นได้ชัด ภายในลําต้นจะเน่าเละมีสีนํ้าตาลเข้ม ปัจจุบันพบ
โรคซึ่งมีอาการคล้ายโรคเหี่ยวมากแต่รุนแรงกว่า เรียกว่า โรคยางไหล หรือ Blood disease
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเข้าทําลายของเชื้อบักเตรี Ralstonia solonacearum (Psuedomonas
solanacearum ) ถ้ามีความชื้นจะระบาดรวดเร็วมาก สําหรับโรค Blood disease เกิดจากเชื้อ Ralstoni
syzygii subsp.celebensis
การป้องกันและกําจัด :
กล้วยที่เป็นโรคเหี่ยวทุกชนิดต้องขุดเผาทําลายเสีย ไม่ควรใช้ขยายพันธุ์ต่อ เพราะอาจทํา
ให้เกิดการแพร่ระบาดได้ ความชื้นจะช่วยเพิ่มการแพร่ระบาดได้มากจึงต้องระวัง
ก่อนปลูกกล้วย ควรแช่หน่อกล้วยด้วยฟอร์มมาลิน ก่อนทุกครั้ง