Page 102 -
P. 102

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       96


                                                แพชชั่นฟรุท






                        แพชชั่นฟรุท  (Passion  fruit) หรือเสาวรส  เป็นพันธุ์ไม้เลื้อยเหมือนองุ่นเจริญเติบโตขึ้นบนร้าน

               หรือค้างมีผลขนาดไข่ไก่ ใบเป็นแฉกมีผู้ให้ชื่อแพชชั่นฟรุทไว้หลายชื่อ เช่น กระทกรกฝรั่ง กระทกรกยักษ์ สุ
               คนธรส เสาวรสและเสาวรสสีดาเป็นต้น แพชชั่นฟรุทที่ปลูกอยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ผลสี

               ม่วง  (Passiflora  flavicarpa)  และพันธุ์ลูกผสม  F1 Hybrid  (Passiflora  edulis f.flavicarpa)  ซื่งพันธุ์

               ลูกผสมนี้มีสีของผลหลายอย่าง เช่น สีม่วงแดง แสด เหลืองทอง และเหลือง ปัจจุบัน แพชชั่นฟรุท กําลังเป็น
               พืชที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจ เพราะนิยมใช้นํ้าคั้นจากผลของแพชชั่นฟรุท ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ไป

               ผสมปรุงแต่งรสชาติของสับปะรดบรรจุกระป๋ อง หรือนํ้าคั้นจากผลของแพชชั่นฟรุทเพียงอย่างเดียวบรรจุ

               กระป๋ องส่งไปจําหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจยุโรป

               นอกจากนี้ยังส่งไปประเทศอื่น ๆ อีก  ปกติโรงงานสับปะรดกระป๋ องจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกแพชชั่น
               ฟรุท  โดยทางโรงงานเป็นผู้รับซื้อผลผลิต   ฉะนั้น เกษตรกรจึงจําเป็นต้องทําความเข้าใจเรื่องของแพชชั่น

               ฟรุท ซึ่งมีโรครบกวน ดังต่อไปนี้


               1. โรคเนื้อผลฟ่ าม

                        ลักษณะอาการ :

                               เมื่อเป็นโรคนี้ ผลจะมีขนาดสั้นและเล็กลง  อาจบวมโป่งออกเป็นบางส่วน  ผิวอาจเป็น

               รอยด่างสีเหลือง ขณะที่ผลยังอ่อนเป็นสีเขียวอยู่ หรือรอยด่างอาจจะเกิดเป็นรูปคล้ายวงแหวนหากเป็นใน

               ระยะที่ผลโตเต็มที่แล้วทําให้เนื้อเยื่อภายในเป็นซังบวมค่อนข้างแข็ง  เปลือกหนามีส่วนที่คั้นนํ้าได้น้อย และ
               ร่วงหล่นก่อนกําหนด  ต้นที่เป็นโรคนี้จะชะงักการเจริญเติบโต ใบอาจเป็นจุดสีเหลืองหรือเป็นสีเหลืองหมด

               ทั้งใบ  ใบห่อและโค้งงอ  ใบมีขนาดเล็กและเรียวยาว เส้นใบจะสีเขียวซีดจาง ยอดอ่อนของเถาหรือปลายยอด

               จะมีข้อ ปล้องสั้น อาจคดงอไปมา ไม่ค่อยจะผลิดอกออกผล บางครั้งจะพบว่าใบจะเจริญออกมามีลักษณะ
               เรียวเล็กคล้ายใบของพืชตระกูลเฟิร์นและมีสีเขียวซีดจาง  โรคนี้นับได้ว่าเป็นโรคที่ทําความเสียหายต่อ

               ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพอย่างมาก

                               สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อวิสาซึ่งเป็น  strain  หนึ่งของ  CMV  โดยมีเพลี้ยอ่อน  Myzus  persicae  และ
               Aphis  gossypii  เป็นพาหะนําโรค



                        การป้องกันและกําจัด :
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107