Page 103 -
P. 103

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       97


                               เมื่อพบว่ามีเพลี้ยอ่อนเข้ามาแพร่ระบาดในแปลงปลูกก็ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น คาร์บารีล

               30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร โอเมทโธเอท 20 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร และขุดต้นที่เป็นโรคออกไปเผาทําลายให้หมด
               เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะเชื้ออีกต่อไป



               2. โรคแอนแทรคโนส

                        ลักษณะอาการ :

                               ในระยะแรก ใบจะเกิดเป็นจุดกลมขนาดเล็ก  สีนํ้าตาล และขอบริมแผลสีเขียวปนสี
               นํ้าตาล  ตรงกลางแผลแห้งสีขาวหรือสีเทาอ่อน  แผลที่แห้งอาจเป็นรอยแตก  บนพื้นแผลดังกล่าวจะมีตุ่มนูน

               สีนํ้าตาลดําเกิดฝังอยู่ในเนื้อเยื่อ เรียงซ้อนกันเป็นวง  ส่วนมากจะขนานไปกับขอบแผลตุ่มนูน ดังกล่าวนี้เป็น

               acervuli   ซึ่งมีสปอร์  conidia   อยู่ภายใน เมื่อแก่ก็จะดันผิวของพืชส่วนนั้นออก บริเวณลําต้นอาจถูกเชื้อรา
               สาเหตุเข้าทําลาย เกิดเป็นแผลทางยาว ผิวแข็งนูน แต่ตรงกลางบุ๋มลงไปเล็กน้อยอาจลุกลามเกิดเป็นแผล

               โดยรอบกิ่งหรือลําต้น ทําให้เกิดลักษณะอาการคอด ส่วนที่เป็นโรคจะชะงักการเจริญหรือแห้งตายไป ผลที่

               เป็นโรคจะเป็นจุดสีนํ้าตาลบุ๋มลงเล็กน้อย เกิดเป็นวงซ้อนกันคล้ายวงปีของเนื้อไม่สีนํ้าตาล เนื้อไม้สีนํ้าตาล

               เข้ม  หากเป็นมากทําให้ผลเหี่ยวย่นแล้วร่วงหล่นไป
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Colletotrichum  mollerianum  มีสปอร์  conidia  อยู่ใน  acervulus  เป็น

               จํานวนมาก  เมื่อแตกออกจะปลิวไปกับลมหรือแพร่ไปกับนํ้าฝน
                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อปรากฏว่ามีโรคนี้เริ่มแพร่ระบาด ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20

               ลิตร หรือคาร์เบนดาซิม 15 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร แล้วเก็บเศษพืชที่ร่วงหล่นอยู่นั้นออกไปเผาไฟทําลายเสีย


               3. โรคโคนเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               เนื่องจากเชื้อราสาเหตุของโรคจะเจริญอยู่ในดินที่มีความชื้นสูง และจะเพิ่มปริมาณเชื้อ

               โรคมากขึ้น แล้วเข้าทําลายรากให้เกิดมีลักษณะอาการเน่าเป็นสีนํ้าตาลดํา ผุเปื่อย โรคลุกลาม ขยายการ

               ทําลายเข้าสู่เนื้อเยื่อของโคนลําต้นระดับผิวดิน  เปลือกของลําต้นที่เป็นโรคจะมีลักษณะอาการเหมือนกับเกิด
               ที่ส่วนราก  เมื่อถากตรวจดูเนื้อเยื่อภายในของลําต้นจะเห็นได้ว่าเกิดเน่าเป็นสีนํ้าตาลดําหรือสีเทาดํา  อาจจะ

               เกิดเป็นบางส่วน ทําให้เป็นสีเทาดําของส่วนที่เป็นโรค  ตัดเนื้อสีขาวของส่วนที่ยังไม่เป็นโรค หรือเกิดเน่า

               เป็นสีดําโดยรอบโคนต้น เมื่อตัดตามขวางของลําต้นจะพบว่าท่อนํ้าท่ออาหารถูกทําลายเป็นสีดํา เป็นรูปวง
               แหวนอยู่โดยรอบ ผลจากเชื้อโรคเข้าทําลายนี้ทําให้รากหมดสภาพการดูดนํ้า และแร่ธาตุอาหารไปสู่ลําต้น
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108