Page 104 -
P. 104

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       98


               ตามปกติได้  จึงทําให้ใบเกิดมีลักษณะอาการเหี่ยว ชะงักการเจริญเติบโตไม่ผลิดอกออกผล ถ้าเกิดเป็นโรค

               รุนแรงก็จะเหี่ยวแห้งยืนตายทั้งต้น
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora   parasitica     P.cinnamomi   เนื่องด้วยเชื้อราทั้ง 2  นี้ มี

               สปอร์หลายชนิดและสามารถอยู่ข้ามฤดูกาลได้ ในการแพร่ระบาดนั้นนํ้าเป็นพาหะที่สําคัญและยังติดไปกับ

               กล้าพันธุ์ได้อีกด้วย
                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อพบว่าโรคนี้เริ่มระบาดก็ควรราดโคนด้วยสารเคมี เช่น เมทาแลกซิล หรือ เบนาแลกซิล

               30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่ว ในแปลงที่มีโรคนี้ระบาดมากก็ควรราดด้วยสารเคมีดังกล่าวทุกต้นสัก 2 ครั้ง

               คือ ต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน ถ้าหากเป็นโรคมากก็ขุดออกไปเผาไฟเสียก่อนปลูกซ่อมต้องราดด้วยสารเคมี
               ดังกล่าว



               4. โรคดอกร่วง

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราสาเหตุของโรคจะเข้าทําลายใบดอกและผล  ลักษณะอาการใบเกิดเป็นแผลค่อนข้าง
               กลมสีนํ้าตาลอ่อนของแผลสีเข้มและล้อมรอบด้วยแถบสีเหลืองหรืออาจเป็นสีเหลืองหมดทั้งใบ ตรงกลาง

               แผลจะแห้งและแข็ง มีขนาด 5-10 มม.  เมื่อมีความชื้นสูง แผลจะฉํ่านํ้า สีเขียวหม่นหรือสีดํา เหี่ยวย่น

               ลักษณะแผลบนดอกก็จะเหมือนกันกับที่เกิดบนใบ โดยเกิดเน่าที่กลีบดอกแล้วขยายเข้าสู่ก้านดอก ร่วงหล่น
               ไปก่อนกําหนด สําหรับที่ผลจะเกิดเป็นจุดค่อนข้างกลมผิวขรุขระมีสีนํ้าตาลตรงกลางจะแห้ง และบุ๋มลงไป

               เล็กน้อยที่ปลายยอดอ่อนจะเกิดเป็นจุดขนาดเล็กกลม หรือเป็นขีดทางยาว ฉํ่านํ้า ผิวของแผลอาจแตกแยก

               ออก หรือเกิดเน่าแห้งโดยรอบ เหมือนเป็นรอยขวั้นแล้วแห้งตายไป โรคนี้นับว่าเป็นโรคที่ทําความเสียหาย
               มาก เพราะทําให้ดอกร่วงไม่อาจได้รับการผสมเกสรเกิดผลต่อไปได้

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Septoria  passiflorae  มีสปอร์  conidia  เกิดอยู่ในตุ่มนูน  pycnidium  ที่ยัง
               อยู่ในเนื้อเยื่อของส่วนที่เป็นโรค เมื่อสปอร์แก่ก็จะปลิวไปกับลมหรือถูกนํ้าฝนชะพัดพาแพร่ระบาดไป

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ควรตัดใบที่เป็นโรคออกไปเผาไฟ แล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 48

               กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือเบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่ว และเก็บใบและดอกที่ร่วงหล่นอยู่บนพื้นดิน
               ออกไปเผาไฟทําลายให้หมด
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109