Page 108 -
P. 108

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      102


               ของเนื้อเยื่อและเมื่อแก่เต็มที่ก็จะดันผิวแตกออก อันเป็นผลให้เกิดเน่าทั้งผล แล้วผลจะร่วงหล่นไปแตกเน่า

               อยู่บนพื้นดิน จึงเป็นผลเสียหายต่อผลผลิตมาก
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Cylindrosporium  passiflorae  เกิดสปอร์  conidia  อยู่ใน  acervulus  ที่ฝัง

               อยู่ในเนื้อเยื่อ เมื่อผิวของพืชแตกก็จะทําให้สปอร์ปลิวไปกับลมหรือถูกนํ้าชะพัดพาไป
                        การป้องกันและกําจัด :

                               ถ้าหากปรากฏว่ามีโรคนี้แพร่ระบาดก็ควรพ่นให้ทั่วด้วยสารเคมี เช่น ไธแรม 30 กรัมต่อ

               นํ้า 20 ลิตร หรือคาร์เบนคาซิม 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร


               11. โรคลําต้นเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราเข้าทําลายลําต้นที่อยู่ใกล้ระดับผิวดิน ในระยะแรกจะเกิดเป็นจุดสีขาวนวลบนผิว

               เปลือกของลําต้น ต่อมาแผลจะขยายใหญ่สีนํ้าตาล เปลือกของลําต้นจะผุและแตกออกและหลุดออกไป

               โดยง่าย เนื้อเยื่อภายในลําต้นจะเน่าเป็นสีนํ้าตาลปนเหลือง โรคอาจจะเกิดเป็นบางส่วนหรือเกิดโดยรอบของ

               ต้น บริเวณของลําต้นที่อยู่ข้างใต้ของแผลหรือส่วนที่เป็นโรคนั้นจะมีลักษณะบวมโป่งออกคล้ายข้อไม้  เมื่อ
               ต้นเป็นโรครุนแรงจะมีผลทําให้ใบเป็นสีเหลืองชะงักการเจริญเติบโต ไม่ผลิดอกออกผล  ลักษณะอาการขั้น

               ต่อไปพืชจะมีลักษณะอาการเหี่ยวเฉา  เนื่องจากท่อนํ้าท่ออาหารถูกทําลายไป จึงไม่สามารถส่งนํ้าและแร่ธาตุ

               อาหารขึ้นไปตามปกติได้ใน ขณะเดียวกันถ้ามีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม ก็จะเกิดมีก้อนเส้นใยของเชื้อ
               รา  sclerotium   ขนาดเดียวกันเท่าหัวเข็มหมุดสีนํ้าตาลเกิดอยู่ในแผลของเปลือกที่แตกอยู่ทั่วไป

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Sclerotinia   sclerotiorum   เกิดทั้งเส้นใย และก้อนของเส้นใยดังกล่าว
               โดยทั่วไปแล้วจะเกิดสปอร์  ascospore  ในถุงซึ่งฝังอยู่ใน  apothecium  ขนาดเล็ก ๆ รูป คล้ายถ้วย มีสีดํา อยู่

               บนแผลเหล่านั้นเป็นจํานวนมาก นํ้าเป็นพาหะที่สําคัญ

                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อพบว่ามีโรคนี้เกิดแพร่ระบาด ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น วาลิดามัยซิน 30 ซีซีต่อนํ้า 20
               ลิตรให้ทั่ว สําหรับส่วนที่เป็นโรคมากก็ควรตัดแต่งออกไปเผาไฟทําลาย ก่อนพ่นด้วยสารเคมี



               12. โรคผลเน่าเละ

                        ลักษณะอาการ :

                               โรคนี้จะเกิดขึ้นในระยะหลังการเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะในเรือนโรงที่เก็บผลไว้เพื่อรอการส่ง
               โรงงานทําการคั้นนํ้า  ในขณะที่ผลถูกกองทับถมกันอยู่นั้นจะทําให้มีอุณหภูมิและความชื้นสูงซึ่งเหมาะสม
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113