Page 106 -
P. 106

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      100


                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อโรคนี้เริ่มระบาด ควรราดดินบริเวณโคนต้นด้วยสารเคมี เช่น แคปแทน 40 กรัมต่อนํ้า
               20 ลิตร แต่ถ้าโรคเป็นมากแล้วก็ขุดออกไปเผาไฟ และราดหลุมด้วยสารเคมีดังกล่าวก่อนปลูกซ่อมใหม่



               7. โรครากเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราสาเหตุของโรคจะเข้าทําลายรากระดับผิวดิน เส้นใยของเชื้อราจะเจริญขึ้นปกคลุม
               รากมีสีขาวคล้ายเส้นเชือกหรือเส้นด้าย ทําให้รากเน่าเป็นสีนํ้าตาล ไม่สามารถดูดนํ้าและแร่ธาตุส่งขึ้นไปได้

               จึงเป็นผลให้ใบมีลักษณะอาการเป็นสีเหลือง ชะงักการเจริญเติบโต การผลิดอกออกผลลดลงอย่างเห็นได้ชัด

               เมื่ออุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมเชื้อราก็จะเจริญออกมาเป็นดอกเห็ดขนาด 5-10 ซม. ผิวด้านบนจะเรียบ

               เป็นมันสีขาวนวล ตรงกลางสีนํ้าตาลอ่อน ริมขอบของดอกเห็ดเป็นทางสีขาว คาดอยู่โดยรอบดอกเห็ด
               ค่อนข้างอ่อนนุ่ม ผิวด้านใต้เป็นครีบ ซึ่งเป็นที่เกิดของสปอร์ ดอกเห็ดมักจะเกิดออกมาอยู่เป็นกลุ่ม ต้นที่เป็น

               โรคนี้อย่างรุนแรงก็จะเหี่ยวเฉา ใบจะร่วงไปบ้างในที่สุดก็แห้งยืนตายไปทั้งต้น แต่ถ้ารากเกิดถูกทําลายเพียง

               บางรากก็จะทําให้ต้นยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกนานแต่มีการเจริญเติบโตช้ามาก
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Armillaria  mellea  มีสปอร์  basidiospores  อยู่ที่ครีบใต้ดอกเห็ดนํ้าเป็น

               พาหะในการแพร่ระบาดที่สําคัญ หรือติดไปกับกล้าพันธุ์  หรือบางครั้งสปอร์อาจปลิวไปกับลมได้

                        การป้องกันและกําจัด :
                               ถากหรือขูดส่วนที่เป็นโรคออกไปเผาไฟ แล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอ

               ไรด์ 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร


               8. โรคผลจุด


                        ลักษณะอาการ :
                               ผลจะเกิดเป็นจุดสีเขียวคลํ้า ฉํ่านํ้าโดยรอบ  แต่ตรงกลางแผลเหมือนถูกนํ้ามันซึมชื้นไป

               ทั่ว สีของแผลจะเปลี่ยนไปเป็นสีนํ้าตาลอ่อนจนสีนํ้าตาลเข้ม พื้นแผลแห้ง ขอบแผลสีจางเด่นชัด ลักษณะ

               อาการบนผืนใบจะเกิดเป็นแผลรูปเหลี่ยมแห้งแข็ง ขอบริมแผลสีเขียวซีดค่อนข้างใสพื้นแผลอาจแตกเป็น
               ระแหง แผลที่เกิดบนส่วนปลายเถาหรือลําต้นจะเป็นสีนํ้าตาลอ่อนบุ๋มลงไปในเนื้อเยื่อเล็กน้อย  ขนาดของ

               แผล 5×10 มม. ขอบแผลนูนสูงขึ้นเล็กน้อย ส่วนลักษณะอาการบนส่วนแข็งหรือลําต้นที่แก่ แผลจะค่อนข้าง

               กลมสีเขียวคลํ้าบุ๋มลงไปเล็กน้อยขนาดแผล 5 มม. สีของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลเข้ม เนื้อเยื่อตรงบริเวณ
               นั้นจะแห้งมีลักษณะคล้ายฟองนํ้าที่แข็ง ลําต้นอาจจะแตกเป็นทางยาวและนูนขึ้นมา เมื่อผ่าตรวจดูภายในจะ

               พบว่าเนื้อเยื่อเป็นสีนํ้าตาลและมีขีดสีนํ้าตาลเข้มโรคนี้นับว่ามีความเสียหายต่อผลผลิตอย่างมาก
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111