Page 109 -
P. 109

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      103


               ต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราเป็นอย่างมาก  สปอร์ของเชื้อราที่ปลิวมาตกอยู่บนผลก็จะงอกเข้าทําลายตรง

               ส่วนของแผลที่ขั้วและรอยแผลตามผิวของผล ทําให้เนื้อเยื่อภายในของผลถูกเชื้อราเข้าย่อยทําลายมีลักษณะ
               อาการเน่าเละอ่อนนุ่ม ฉํ่านํ้า คุณภาพของผลเสียหายมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เมื่อถูกทําลายอยู่ในขั้นรุนแรงจะมี

               เส้นใยของเชื้อราขึ้นปกคลุมเต็มไปหมด มีทั้งเกิดสปอร์สีต่าง ๆ เช่น สีนํ้าเงินปนเขียว สีดํา สีขาว เป็นต้น

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Penicillium expansum    Aspergillus niger   Fusarium  oxysporum
               Rhizopus  nigricans  สปอร์จะปลิวฟุ้งอยู่ทั่วไป จึงทําให้เพิ่มการแพร่ระบาดมากยิ่งขึ้น

                        การป้องกันและกําจัด :

                               หลังการเก็บผลมาแล้วต้องล้างให้สะอาด และพ่นด้วยสารเคมี เช่น ไลโซล 5 เปอร์เซ็นต์

               ผึ่งให้แห้ง แล้วจึงเก็บในยุ้งฉางหรือโรงเรือนที่ไม่อับชื้น


               13. โรคขั้วผลเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               โดยทั่วไปโรคนี้จะเกิดขึ้นกับผลหลังการเก็บเกี่ยว โดยเชื้อสาเหตุจะเข้าทําลายที่ก้านของ

               ผลแล้วลุกลามไปยังขั้วของผล  ทําให้ผลเกิดเป็นแผลสีเทาคลํ้าหรือสีเทาดําตรงบริเวณดังกล่าวจะเกิดยุบตัว
               ลงอย่างเห็นได้ชัด  บนผิวจะมีลักษณะเหี่ยวย่น ในขณะเดียวกันถ้ามีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม ก็จะมี

               เส้นใยสีขาวนวลของเชื้อราเกิดเจริญปกคลุมเหมือนปุยฝ้ายบนแผลและต่อมาก็จะมีตุ่มนูนขนาดเท่าปลายเข็ม

               หมุด สีดํา ซึ่งเป็น pycnidium   เกิดอยู่บนผิวของแผลนั้น แผลจะยุบตัวลงไปมากยิ่งขึ้น เมื่อตรวจดูเนื้อเยื่อ
               ภายในตรงส่วนนั้นจะพบว่าเน่าเป็นสีนํ้าตาลเหลือง มีลักษณะอ่อนนุ่ม ฉํ่านํ้า คุณภาพของผลเสียไป นับว่า

               เสียหายมากถ้านําไปคั้นนํ้าบริโภค

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
                               โรคนี้เกิดจากเชื้อรา  Botryodiplodia   theobromae   ซึ่งมีสปอร์เกิดอยู่ในตุ่มนูนดังกล่าว

               เป็นจํานวนมาก เมื่อสปอร์แก่ก็จะแพร่ระบาดไปกับลม เกิดฟุ้งกระจายเข้าทําลายผลอื่น ๆ ต่อไป

                        การป้องกันและกําจัด :

                               นําผลที่เก็บเกี่ยวมาทั้งหมดไปจุ่มในสารเคมี เช่น ไธอะเบนดาโซล  thiabendazole      500
               ppm.   นาน 3 นาที ผึ่งให้แห้ง แล้วเคลือบด้วยขี้ผึ้ง  wax    ซึ่งจะทําให้ไม่ถูกเชื้อราเข้าทําลายให้เกิดความ

               เสียหายต่อไปได้
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114